ลุงผมชื่อปอ
ใครๆ
เรียกว่าอากรปอ
มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนรักษาอากรกิจ
เป็นต้นสกุลอึ๊งภากรณ์
ซึ่งในเอกสารตั้งนามสกุลดูเหมือนจะสะกด
"อึ๊งพากร"
แล้วอย่างไรไม่ทราบเพี้ยนมาเป็นอย่างปัจจุบัน
ก็เลยตามเลย
พวกเราชาวธนาคารชาติและผู้อยู่ในวงราชการคงจะสนใจที่จะทราบว่า
ลุงผมเป็นตาของคุณบันชา
ล่ำซำ
ตาภรรยาของคุณเกษม
จาติกวนิช
เป็นตาของ
ดร.พนัส
สิมะเสถียร
เป็นปู่ของคุณชาญชัย
อึ๊งภากรณ์
เป็นพ่อตาของคุณทรง
บุลสุข (ถ้าจะกล่าวให้ครบลูกหลานของลุง
คงจะต้องเขียนอีกเรื่องหนึ่ง
และจะต้องสอบถามพี่ๆ
อีกมาก
แม่กับเตี่ยมีลูก
๗ คน คนที่
๑ ถึง ๔ ( ๔
คือผม)
เป็นผู้ชาย
ถัดมาเป็นผู้หญิง
แล้วฝาแฝดสุดท้ายหญิงกับชาย
เมื่อพี่ชายสองคนโตเติบใหญ่ถึงวัยเล่าเรียน
เตี่ยก็จัดส่งให้ไปเรียนที่บ้านเกิดของท่านในประเทศจีน
ผมยังเป็นเด็กเล็กๆ
ไม่รู้ความ
ทราบทีหลังว่า
ถึงแม่จะมีเชื้อจีน
ท่านก็ไม่สู้จะเห็นด้วยกับการส่งลูกไปเรียนเมืองจีน
โดยเฉพาะเมื่อพลัดลูกพลัดแม่
ท่านย่อมมีความโทมนัสเศร้าสลดเป็นธรรมดา
นัยว่าเตี่ยกับแม่ทะเลาะกันเป็นครั้งแรกในเรื่องนี้
ต่อมาเมื่อก่ำพี่ชายคนที่
๓ (ภายหลังใช้ชื่อกำพล)
กับผมโตขึ้น
อายุสัก ๘ -
๙ ขวบ
เตี่ยก็จะส่งไปเมืองจีนอีก
คราวนี้แม่ไม่ยอมเด็ดขาด
บอกว่าได้ตัดสินใจยอมส่งไปแต่
๒ คนแรก ๒
คนหลังนี้ต้องให้เป็นเรื่องของแม่
เตี่ยเป็นคนที่ไม่ใคร่พูดไม่ชอบทะเลาะ
ก็จำใจยอม
ก่ำกับผมได้เรียนภาษาไทยบ้างแล้วที่โรงเรียน
"สะพานเตี้ย"
ตำบลตลาดน้อย
แม่ก็จัดการให้เข้าโรงเรียนอัสสัมชัญ
โดยขอให้ท่านมหาสุข
ศุภศิริ
พาไปฝากเข้าเรียน
ท่านมหาสุขเป็นครูภาษาไทยที่โรงเรียนอัสสัมชัญ
อยู่บ้านใกล้กับบ้านเรา
ในตรอกโรงสูบน้ำตลาดน้อย
ผมเรียกท่าว่าคุณลุง
โรงเรียนอัสสัมชัญขณะนั้น
ค่าเล่าเรียนเดือนละเจ็ดบาท
ปีหนึ่งเรียนสิบเดือน
รวมเป็นเจ็ดสิบบาท
ซึ่งแพงที่สุดสำหรับสมัยนั้น
ค่าสมุดหนังสือก็แพงกว่าโรงเรียนอื่นๆ
เป็นอันมาก
แต่แม่ใจเด็ดตามเคย
แพงก็แพง
ฉันอยากให้ลูกของฉันได้มีโอกาสดีที่สุดทัดเทียมผู้อื่น
ถ้าพูดตามภาษาเศรษฐศาสตร์สมัยนี้
คงจะเรียกว่า
เสี่ยงลงทุนหนักๆ
เพื่อพัฒนาทรัพยากรกำลังคน |
มารดาของอาจารย์ป๋วย |
นางเซาะเช็ง
อึ๊งภากรณ์
(ประสาทเสรี) |
|
|
|
๓.
บ้านเมืองจีนกับบ้านเมืองไทย
อีกข้อหนึ่งที่ทำให้แม่ตัดสินใจลงทุนให้ลูกเรียนแพงๆ
คงจะเป็นเพราะเห็นว่าเตี่ยทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ
(เคยถูกผู้ร้ายชิงทรัพย์ตีหัวแตกขณะไปเก็บเงินลูกค้า)
แล้วก็นำเงินไปเลี้ยงครอบครัวที่เมืองจีนเสียมากต่อมาก
ทำไมจะไปเสียดายเงินที่เอาไว้ใช้ในเมืองไทยบ้างสำหรับให้ลูกเรียนหนังสือ
ครั้งหนึ่งเตี่ยกลับไปเยี่ยมบ้านที่เมืองจีน
กลับมาเอารูปถ่ายที่บ้านเมืองจีนมาอวดใหญ่
เป็นตึก ๗
หลัง
หลังกลางสำหรับปู่กับย่าผม
ปู่กับย่ามีลูกชาย
๖ คน
ฉะนั้นตึกอีก
๖ หลัง
สร้างไว้ข้างละ
๓
หลังในบริเวณเดียวกัน
สำหรับลุง
เตี่ย
และอาของผมทุกคน
ในบริเวณมีสวนส้มสวนผลไม้อื่นและมีนาพอทำมาหากินได้ทั้งครอบครัวใหญ่ๆ
๖ ครอบครัว
เตี่ยมีความภาคภูมิใจมาก
เพราะที่ดินและตึกที่มีได้ถึงขนาดนี้เป็นด้วยลุงกับเตี่ยเพียงสองคนมาทำงานในเมืองไทยแล้วอดออมส่งเงินไปซื้อไปสร้างไว้ให้ครอบครัวได้อยู่
ได้ใช้สบาย
มีหน้ามีตาในหมู่บ้านตามประเพณีจีน
มีชื่อเสียงว่าเป็นคนดีทั้งสองคน
แต่พอเตี่ยเอารูปที่ว่านั้นมาอวดที่บ้าน
แม่ก็พื้นเสีย
เอะอะกับเตี่ยว่านี่แหละในเมืองไทยต้องเช่าห้องแถวอยู่ราวกับรังหนู
จะส่งลูกไปเรียนโรงเรียนฝรั่งก็ต้องทะเลาะกันก่อน
เงินที่หาได้กลับส่งไปบำรุงทางเมืองจีนเสียหมด
อาผู้ชายกับครอบครัวนอนกินอยู่เมืองจีนสบายๆ
เพราะมีพี่สองคนส่งเสียไม่ต้องทำอะไร
บางคนมีเมียน้อยด้วยซ้ำ
ฯลฯ
เตี่ยกับแม่ไม่พูดกันไปหลายวัน
การที่ก่ำกับผมไปเรียนที่อัสสัมชัญ
ก็ใช่ว่าจะราบรื่น
เพราะชื่อเราเป็นจีน
นามสกุลเป็นจีน
เพื่อนๆ
ที่โรงเรียนก็ล้อว่าเป็นเจ๊ก
เขาตั้งฉายาต่างๆ
ให้เราเจ็บอาย
เช่น
เรียกผมว่าไอ้ตี๋
เวลาเตี่ยต้องลงชื่อรับทราบรายงานความประพฤติและผลสอบในสมุดประจำตัวนักเรียน
เตี่ยก็เขียนภาษาไทยไม่ได้
ต้องลงชื่อภาษาจีน
ก่ำมีความอายเรื่องนี้มากกว่าผม
ตอนหลังๆ
ถึงกับปลอมลายมือชื่อเตี่ยเป็นภาษาไทย
และเปลี่ยนชื่อให้เป็นไทยเสร็จ
เตี่ยเป็นลูกชายคนที่สามของปู่
ใครๆเรียก "ซา"
ก่ำก็เปลี่ยนเป็น
"สา"
ฟังดูแล้วชื่อเป็นไทย
อยู่โรงเรียน
เราทั้งสองพยายามให้เพื่อนๆ
รับเราว่าเป็นคนไทย
พอกลับมาบ้าน
และโดยเฉพาะเมื่อไปหาลุงกับเตี่ยที่แพปลา
บรรดาญาติทางเตี่ยที่มาร่วมทำมาหากินกับลุงก็มักจะล้อเลียนพวกเราว่า
กลายเป็นคนไทยไปเสียแล้ว
พูดภาษาจีนก็ไม่ชัด
กลายเป็น "ฮวนเกี๊ย"
คือลูกชาวป่าเถื่อน
เรายังเด็กอยู่รู้สึกอึดอัดใจเป็นกำลังเพราะโดนกระหนาบทั้งสองด้าน
ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
แม่เป็นคนปลอบและให้กำลังใจแก่เรา
ท่านว่า "ฮวนเกี๊ย"
ซีดี
เกิดเมืองไทย
อยู่เมืองไทย
ต้องเป็นไทย
ถ้าอยู่เมืองจีนเป็นคนจีนดีแล้วมาหากินในเมืองไทยกันทำไม
ท่านว่าท่านเลี้ยงลูกของท่านให้เป็นคนไทยจะได้ไม่ต้องเป็นจับกัง
คือกรรมกรแบกหามอย่างญาติที่ช่างล้อของเรา
ไม่ต้องหาบก๋วยเตี๋ยวขายอย่างเด็กๆ
เพื่อนบ้าน
และเพื่อนเล่นของเรา
และไม่ต้องเป็นอั้งยี่
สมาชิกสมาคมลับของจีนที่เป็นอันธพาล
|