หน้า  1    2   3    4    5

-3-

อ่านต่อ

 

 
   

           เราสามารถแบ่งโคพีพอดโดยอาศัยรูปร่างลักษณะทั่วไปออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้  Calanoida, Cyclopoida, และ Harpacticoida

     
Calanoid copepods
 

           โคพีพอดกลุ่ม Calanoida  เป็นโคพีพอดขนาดใหญ่และจำนวนชนิดมากที่สุดในบรรดาโคพีพอดทะเล  ลักษณะที่เด่นชัดคือ มีรยางค์คู่ที่ 1 ยาวเลยส่วนของลำตัว 2 ส่วนรวมกัน (ส่วนตัวและส่วนอก) และส่วนหัวและอกแยกออกจากส่วนท้องชัดเจน โคพีพอดกลุ่มนี้มีการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพมากว่ากลุ่มอื่น คือ นอกจากกินอาหารได้หลายประเภทแล้ว ยังสามารถกินอาหารได้ทั้งที่กำลังว่ายน้ำ โคพีพอดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจึงนำมาเพาะเลี้ยงเพื่ออนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งได้รับผลที่เป็นที่น่าพอใจ

Cyclopoid copepods
 
        
a)  Oithona  sp.
 
             
 b)  Corycaeus  sp.

           โคพีพอดกลุ่ม Cyclopoida  มีขนาดเล็กกว่า Calanoida มาก และจำนวนชนิดมีน้อยกว่าด้วย ลักษณะที่สำคัญคือ มีความยาวหนวดปานกลาง หรือความยาวหนวดไม่เกินส่วนของหัวและอก ลำตัวส่วนหัวและอกแยกจากส่วนท้องเห็นได้ชัดเจนเช่นเดียวกับ Calanoida โคพีพอดในกลุ่มนี้ดำรงชีวิตได้หลายแบบ คือมีทั้งที่ดำรงชีวิตแบบอิสระ แบบแพลงก์ตอน คืบคลานอยู่ตามพื้น  เกาะอยู่บนพื้นน้ำ เกาะอยู่บนพืชน้ำ อาศัยอยู่ตามดินตะกอน หรือเป็นปรสิตของสัตว์น้ำ

 

 

Harpacticoid copepods  

          โคพีพอดกลุ่ม Harpacticoida  มีจำนวนชนิดน้อยที่เป็นแพลงก์ตอน ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตคล้ายเบนโธส คือ คืบคลานอยู่ตามพื้นท้องน้ำ หรืออยู่บนสาหร่ายทะเล  หญ้าทะเล ฯลฯ โคพีพอดกลุ่มนี้รูปร่างเรียว ส่วนหัวและอกมีความกว้างใกล้เคียงกับส่วนท้องมากจนแยกไม่ออก หนวดสั้นมาก
         
Cnidarians  หรือที่รู้จักกันดีว่า พวกแมงกระพรุน  เป็นกลุ่มสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีจำนวนมาก ส่วนใหญ่อาศัยในทะเลและที่มีรายงานแล้วประมาณ 10,000 ชนิด cnidarians ชนิดที่เป็นแพลงก์ตอน รวมกลุ่มที่ล่องลอยอยู่ในน้ำที่มีรูปร่างแบบร่ม หรือ medusa foum cnidarians จัดเป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า

megatoplankton ซึ่งอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางของร่มมากกว่า 1 เมตร ชนิดที่รวบรวมได้โดยการลากถุงแพลงก์ตอนเป็นกลุ่มที่มีรูปร่างที่แปลกตาออกไปจากแมงกะพรุนที่เราเห็นกันทั่วไป คือ Order Siphonophora  ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่อยู่กันเป็นสายยาว (โคโลนี) ลักษณะของลำตัวคล้ายร่มหรือระฆังทรงสูงซ้อนกัน 2 ใบ ตัวใสคล้ายวุ้น รูปร่างของระฆังรวมทั้งรูปแบบการซ้อนกันแตกต่างกันตามชนิด  Siphonophora หลายชนิดมีเข็มพิษที่ช่วยป้องกันตัวจากสัตว์อื่น  หากนักดำน้ำไปสัมผัสกับสายยาวของโคโลนีจะมีอาการปวดแสบร้อนเช่นเดียวกับโดนเข็มพิษของแมงกะพรุนไฟ
            หวีวุ้น (
Comb jelly)  เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ถาวรกลุ่มเล็กๆ  กลุ่มหนึ่งที่พบเฉพาะในทะเล มีลักษณะคล้ายแมงกะพรุนหรือ cnidarians  คือมีลำตัวใส แต่รูปทรงลำตัวหวีวุ้นจะแปลกออกไป ชนิดที่พบบ่อยมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ ลักษณะที่สำคัญประจำกลุ่มคือ มีแผ่นหวีที่ช่วยให้หวีวุ้นเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างมีประสิทธิภาพในทะเล หวีวุ้นเป็นนักล่าที่ดุร้าย โดยใช้แส้เส้นยาวๆ 2 เส้น เป็นเครื่องมือจับเหยื่อส่งเข้าปาก บนแส้ทั้งสองมีกาวที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศซึ่งสามารถดักจับเหยื่อ คล้ายกับทำให้เกิดอาการชาและติดแน่นบนแส้  ลำตัวหวีวุ้นประกอบด้วยเซลล์ที่เปล่งแสงเรืองอย่างสวยงามในยามค่ำคืน ซึ่งเป็นคุณสมบัติอีกข้อหนึ่ง ที่ช่วยล่อเหยื่อให้ติดกับได้ดี


 
 
    Siphonophora หวีวุ้น ( Comb jelly)

......................................................................................................................................................

.....................................
       
<<==== siphonophore ที่ไม่ได้แยกชนิด ===>> Diphyes  sp.  
..................................................................................................................................................... ...................................
หน้า  1    2   3    4    5  

อ่านต่อ

 

ข้อมูลจากหนังสือ: จากยอดเขาถึงใต้ทะเล ฯ เรียบเรียงโดย ศาสตราจารย์ ลัดดา วงศ์รัตน์ แห่งภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์