๒ บ้าน
เมื่อจำความได้แม่ก็อยู่ที่ธนบุรีแล้ว
ที่ซอยซึ่งปัจจุบันเป็นซอยวัดอนงค์ "บ้าน"
นั้นเหมือนห้องแถวชั้นเดียวแต่มีหลายห้อง แทนที่จะเป็นห้องเดียว "บ้าน"
จะเป็นส่วนหนึ่งของอาคารซึ่งก่อด้วยอิฐ หลังคาเป็นกระเบื้อง
และประกอบด้วยหลายชุด (Unit) ด้านหนึ่งของบ้าน มี
๔-๕ ชุด ซึ่งมีคนอยู่ อีกด้านหนึ่งพังไปแล้วและร้าง "บ้าน"
ที่อยู่นั้นเก่าพอใช้และอยู่ในสภาพไม่ดีเพราะไม่มีการซ่อมแซมเลย
บ้านนั้นเป็นบ้านเช่าแต่เช่าเพียงกำแพง ผนัง และหลังคา
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไม้ เช่น พื้นนั้นผู้เช่านำมาเอง ผู้ที่พักอาศัยอยู่ที่ "บ้าน"
ครอบครัวของพ่อของแม่และครอบครัวของแม่ของแม่ไม่ไปมาหาสู่กัน
เหตุที่ไม่ถูกกัน คงเป็นเพราะครอบครัวของพ่อชูฐานะดีกว่า
และอาจเป็นเหตุที่ไม่พอใจกัน เมื่อพ่อชูมาแต่งงานกับแม่คำ พี่น้อง พ่อชูและแม่คำมีลูก ๔ คน คนโตเป็นหญิง แม่จำไม่ได้เลย คนที่สองเป็นชาย แม่จำได้นิดหน่อย คนที่สามคือแม่ คนที่สี่เป็นชายชื่อถมยา ถมยาอ่อนกว่าแม่ ๒ ปี ผู้ใหญ่เล่าว่า เมื่อเกิดร่างกายปกติ แต่ตั้งแต่แม่จำความได้ ถมยาก็หลังค่อม แม่เป็นผู้เริ่มสอนให้ถมยาอ่านหนังสือ ถมยาไปวิ่งเล่นในวัดอนงค์ และต่อมาเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์อ่ำ พระวัดอนงค์ และเรียนหนังสือกับอาจารย์ด้วย ถมยาไม่ได้ไปโรงเรียนจนอายุ ๑๘ ปี เพราะครอบครัวจนเกินไปที่จะออกค่าเล่าเรียนให้ได้ แต่ก็อ่านหนังสือออก เมื่อแม่กลับมาแต่งงาน ถมยาได้มีโอกาสเข้าโรงเรียนบ้านสมเด็จและภายในไม่กี่ปีก็สำเร็จมัธยมปีที่ ๘ เมื่ออายุ ๒๓-๒๔ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก (ต่อไปนี้จะเรียกทูลหม่องฯ) ได้ส่งถมยาไปที่โลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยหวังว่าอากาศและแพทย์จะรักษาร่างกายให้แข็งแรงด้วย ถมยาอยากเรียนแพทย์ นอกจากเรียนภาษาฝรั่งเศส จึงเรียนภาษาลาตินอีก โดยบังเอิญเมื่อข้าพเจ้าไปเข้าโรงเรียนรัฐบาลที่โลซานน์ ๘-๙ ปีภายหลังข้าพเจ้ามีครูภาษาลาติน ชื่อมาดมัวแซล บรัว (Mlle Broye) ครูคนนี้เมื่อทราบว่าข้าพเจ้าเป็นคนไทย เล่าให้ฟังว่าท่านเคยมีลูกศิษย์ไทยคนหนึ่งที่มาเรียนภาษาลาติน มาดมัวแซล บรัว บอกว่าหนุ่มคนนี้เป็นลูกศิษย์ที่ฉลาด ขยันและเรียนเร็วที่สุดที่เคยมี แต่น้าถมยาก็ไม่มีโอกาสจะเป็นหมออย่างที่ต้องการ หลังจากที่ไปอยู่โลซานน์ประมาณ ๓ ปี ก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
|