2. สร้างความสมดุลให้กับสรีระของร่างกาย
ในร่างกายของคนเราจะมีกระบวนการซับซ้อนที่ที่คอยปรับความสมดุลของร่างกายให้อยู่ในภาวะที่พอเหมาะอยู่ตลอดเวลา
สภาวะสมดุลของร่างกายนี้จะไม่คงที่
และจุดสมดุลของแต่ละคนไม่เท่ากัน
สภาวะสมดุลของร่างกายจะมีแนวโน้มลดต่ำลงสู่จุดอ่อนแออยู่เรื่อยๆ
หากไม่รู้จักวิธีบำรุงรักษา
การสร้างความสมดุลหรือปรับจุดสมดุลของร่างกายจะทำได้โดยวิธีง่ายๆ
และธรรมดาที่สุดโดยการออกกำลังกาย บริหารร่างกาย
หรือทำโยคะ
อาจเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวหรือเลือกทำทั้งหมดเลยก็ได้
แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคน
บางคนชอบวิธีทำโยคะมากอาจหาซื้อหนังสือเรื่องโยคะมาเป็นคู่มือฝึกฝนตนเองได้
บางคนอาจใช้วิธีวิ่งออกกำลังกายหรือเดินเร็ว
การวิ่งออกกำลังกายหรือเดินเร็วควรกระทำสม่ำเสมอ กระทำทุกๆ
วัน ๆ ละหนึ่งครั้ง ให้ทำต่อเนื่องกันครั้งละไม่น้อยกว่า
30 นาที
การกระทำอย่างต่อเนื่อง
จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยให้รู้สึกเบิกบานมีความสุข
ควรทำจนเหงื่อออกพอควร
จึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์เพียงพอในแต่ละวัน
ถ้าไม่สามาถกระทำได้ทุกวันอาจทำวันเว้นวันหรือวันเว้นสองวันได้
หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน
ที่สำคัญควรจัดตารางเวลาให้สามารถวิ่งหรือเดินเร็วได้อย่างสม่ำเสมอ
การทำโยคะก็เช่นกัน ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกๆ วัน ๆ
ละไม่น้อยกว่า 30 นาที
การบังคับให้ร่างกายได้ออกกำลังเป็นการทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะตึงเครียดมากกว่าปกติช่วงระยะหนึ่ง
ในขณะออกกำลังพลังของกล้ามเนื้อ เซล ประสาท เส้นเอ็น
ตลอดจนอวัยวะต่างๆ จะปรับตัวขึ้นไปอยู่ ณ
จุดที่สูวกว่าจุดสมดุลตามปกติของผู้ออกกำลัง
ฉะนั้นในระยะแรกๆ ผู้ที่ออกกำลังกายอาจรู้สึกปวดเมื่อย
และเหนื่อยมากกว่าปกติ ก็ไม่ต้องตกใจ เมื่อหยุดออกกำลัง
ร่างกายได้หยุดพัก พลังของก้ามเนื้อ เซล ประสาท เส้นเอ็น
อวัยวะต่างๆ จะลดลงมาอยู่พอดีที่จุดสมดุลเดิม
จึงทำให้ร่างกายสบาย
และเมื่ออกกำลังติดต่อกันไปอีกในวันต่อๆ มา
พลังทั้งมวลดังกล่าวจะปรับตัวสูงกว่าเดิมอีก
พอถึงคราวหยุดพักก็จะกลับลงมาสู่จุดสมดุล
ผู้ออกกำลังกายจะรู้สึกว่าตัวเองแข็งแรงขึ้น
มีกำลังมากขึ้น คล่องแคล่ว สดชื่น แจ่มใสขึ้น
อิสลามส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า "อัลลอฮ์ทรงรักผู้ศรัทธาที่แข็งแรงมากว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ"
ฉะนั้นบรรดาเยาวชนมุสลิมในอดีตจึงได้รับการปลูกฝังให้ออกกำลังกายโดยการขี่ม้า
ว่ายน้ำ ยิงธนู และอื่นๆ
วิชาเหล่านี้จะมีอยู่ในหลักสูตรการเรียนรู้ของเด็กๆ
เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง
สามารถปฏิบัติศาสนกิจต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าได้อย่างเข้มแข็ง
อดทน และที่สำคัญ
เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเป็นนักรบหรือเป็นทหารที่กล้าหาญ
เข้มแข็งและอดทนได้
เมื่อประเทศชาติต้องการเพื่อปกป้องศาสนาขององค์พระผู้เป็นเจ้า
3. สร้างความสมดุลให้กับจิตใจ
หมายถึงปรับจิตใจให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะพอดี
ไม่ตึงเครียดเกินไป ไม่วิตกกังวลเกินไป ไม่อ่อนเพลีย
ไม่ง่วงนอน จิตใจสบาย
สภาวะเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน
เมื่ออาบน้ำเสร็จเราอาจนอนหงาย
เหยียดแขนเหยียดขากับพื้นตามอิสระ จิตใจปลอดโปร่ง
สบายกายสบายใจยิ่ง และอยากจะนอนอยู่ในท่านั้นนานๆ จนหลับไป
หรือถ้าไม่หลับร่างกายอยู่ในสภาพพักผ่อนเต็มที่
กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ประสาท เส้นเอ็นผ่อนคลาย
จิตใจมีความสุขอยู่กับจินตนาการ
ใฝ่ฝันในสิ่งที่ตนชอบและอยากเป็น
จิตใจจะเป็นอิสระและได้รับการพักผ่อน
บางครั้งจินตนาการนี้อาจจะถูกชักนำให้เป็นไปโดยตนเองหรือผู้อื่นก็ได้
สภาวะความสมดุลของจิตใจ
ทำให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่
การละหมาดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างความสมดุลให้แก่จิตใจ
ท่าทางขณะละหมาดทำให้ร่างกายส่วนต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อขา หลัง ผ่อนคลายสบาย
เป็นท่าที่คนทุกวัยปฏิบัติได้เรียบง่าย ต่อเนื่อง
ทำที่ใดก็ได้ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยและไม่เสียค่าใช้จ่าย
ทำให้จิตใจสงบ เพราะสายตาจะเพ่งไปที่จุดเดียวคือจุดที่จะสุญูด
จิตใจจะรวมอยู่ที่ท่าละหมาด
และคำกล่าวในละหมาดที่กล่าวสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า
การขออภัยโทษต่อพระองค์ การขอพรต่อพระองค์ ให้แก่ตนเอง ต่อบรรดานบีและคนดีๆ
ทำให้จิตใจนิ่งไม่วอกแวก สภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดความสุข
ความผ่อนคลาย ร่างกายและจิตใจได้รับการพักผ่อน
ละหมาดเสร็จแล้วยังมีช่วงเวลาที่ขอพรและขออภัยโทษต่อพระองค์
เป็นสภาวะที่ทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลายได้อีกช่วงหนึ่ง |