ทุกคนอยากมีความสุข
แต่ละคนมีวิธีแสดงหาความสุขแตกต่างกัน
บางคนก็แสวงหาอาหารอร่อยๆ มารับประทาน
บางคนแสวงหาความสุขจากการนอนหรือบางคนทำงานเพื่อหาทรัพย์สินมาสนองความต้องการของตน
บางคนก็แสวงหาความสุขโดยการท่องเที่ยวไปตามภูเขา น้ำตก
หรือทะเล บางคนก็ดูภาพยนตร์ดูละคร ฟังเพลง
วนเวียนเช่นนี้ตลอดไปจนกระทั่งตาย
แต่มีบุคลบางส่วนที่แสวงหาความสุขจากการกิน
การนอนหรือการทำงานในขณะเดียวกันก็ยังรู้จักหาโอกาสแสวงหาความสุขภายในจิตใจของตนเองด้วย
โดยรู้จักวิธีปรับจิตใจให้อยู่ในภาวะผ่อนคลาย
รู้จักวิธีปรับจิตใจและร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล
ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ และลงทุนน้อยที่สุด
คนเรามีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ร่างกายกับจิตใจ
องค์ประกอบสองอย่างนี้จะทำงานประสานกันตลอดเวลา
หากร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ย่อมมีผลให้จิตใจเป็นสุข
มีความคิดและการกระทำไปในทางที่ดีงาม
ขณะเดียวกันจิตใจที่แจ่มใส ปลอดโปร่ง
ไม่มีเรื่องวิตกกังวลมากเกินควร อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีคือ
ได้เห็นสิ่งดีงาม ได้ยินคำพูดที่ดี
ย่อมมีผลให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส
มีความมั่นใจที่จะติดต่อพบปะกับบุคคลอื่นในสังคมได้ทุกเมื่อ
หากร่างกายและจิตใจได้รับการปรับให้สมดุล
จะทำให้มีสุขภาพกายและจิตดี ไม่เจ็บป่วยบ่อย
สภาวะความสมดุลของร่างกายและจิตใจนี้จะทำให้คนเรามีความสดชื่น
แจ่มใส ปลอดโปร่ง มีสมาธิ
รู้สึกผ่อนคลายสบายใจอย่างบอกไม่ถูก
นักจิตเวชได้พยายามค้นคว้าหาแนวทางและวิธีปฏิบัติเพื่อสร้างความสมดุลให้แก่ร่างกายและจิตใจ
เพื่อให้สภาวะนี้อยู่ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
และได้เสนอหลักการสำคัญ 3 ประการคือ
1.
สร้างความสมดุลในเรื่องอาหาร
คือรับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ
ไม่ผ่านกระบวนการดัดแปลงหรือดัดแปลงน้อยที่สุด เช่น
ธัญพืชต่างๆ ผักสด ผลไม้สด ข้าวกล้อง ข้าวมันปู
น้ำตาลทรายที่ไม่ฟอกสี ผักผลไม้ปลอดสารพิษ
อาหารที่ปลอดสารเคมีพวก ยากันบูด ผงชูรส
สีผสมอาหารที่ทำจากสารเคมี
ควรรับประทานผักและผลไม้มากกว่าเนื้อสัตว์ 20%
ดื่มน้ำสะอาดแทนน้ำหวานหรือน้ำอัดลม
คนที่มีฐานะดีบางคนจะบริโภคเนื้อสัตว์มากกว่าพืชผัก
ทำให้สุขภาพอ่อนแอ เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย
เพราะผู้นั้นได้ทำลายความสมดุลทางธรรมชาติด้านอาหารโดยไม่รู้ตัว
ฉะนั้นหากผู้ใดอยากมีร่างกายแข็งแรง
สุขภาพอนามัยดีอยู่เสมอ ผิวพรรณผ่องใส สมองว่องไว
ปราดเปรียว ไม่เจ็บป่วยบ่อย
จึงควรพยายามรักษาความสมดุลของเรื่องอาหรไว้ให้ได้
โดยพยายามรับประทานพืชผักให้มากกว่าหรืออย่างน้อยให้เท่ากับรับประทานเนื้อสัตว์
โปรดระลึกไว้เสมอว่าการบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไปทำให้ร่างกายขาดความสมดุลที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ
ในอิสลามมีหลักการที่ทำให้เกิดความสมดุลในการรับประทานอาหารโดยมมุสลิมยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
คือให้รับประทานอาหารที่ "ฮาล้าล" ถูกต้องตามบทบัญญัติ
เช่น ไม่กินเลือดหรือสัตว์ที่ตายเอง
สัตว์ที่มีเขี้ยวกรงเล็บ เนื้อหมู
เชือดสัตว์ที่อนุมัติโดยกล่าวพระนามพระเจ้าก่อนเชือดและเชือดอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติ ให้รับประทานอาหารที่ "ตอยยิบ" คือมีคุณค่า
พอเหมาะแก่ความต้องการของร่างกาย
ไม่เกิดโทษต่อร่างกาย
ปลอดสารเคมีและสารพิษที่จะทำอันตรายต่อสุขภาพ
นอกจากนี้อิสลามยังกำหนดมารยาทในการรับประทานอาหาร คือ
ให้รับประทานอาหรปริมาณพอดี
โดยแบ่งกระเพาะเป็น 3 ส่วน อาหาร 1 ส่วน น้ำ 1
ส่วน และอากาศ 1 ส่วน
ไม่รับประทานอาหารจนแน่นท้อง รับประทานอาหรเมื่อหิว
รับประทานคำเล็กๆ ตักอาหารใกล้ตัว
ใช้มือรับประทานโดยต้องล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
กล่าวนามต่อพระผู้เป็นเจ้าและขอพรต่อพระองค์ก่อน
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.)
เป็นแบบอย่างให้แก่ประชาชาติของท่าน
ท่านรับประทานพืชผักมากกว่าเนื้อสัตว์
อาหารส่วนมากของท่านจะเป็นอินทผลัม นม ขนมปัง
บางครั้งก็มีเนื้อสัตว์บ้าง |