ปลา
ในบริเวณสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม จะพบลูกปลาอยู่เป็นฝูง
ฝูงเล็กบ้างใหญ่บ้างตามนิสัยการเป็นอยู่ของแต่ละชนิด
เช่น ปลากระบอกมักพรวมเป็นฝูงใหญ่ นับเป็นสิบๆ
ตัวขึ้นไป ส่วนปลาตะกรับอยู่กันเพียง 2-3 ตัว เป็นต้น
ในสวนป่าชายเลนแห่งนี้มีคลองชื่อ บางกราน้อย
ซึ่งเป็นลำน้ำเล็กๆ ผ่านออกสู่ทะเลได้
ถึงแม้จะเป็นป่าลูกก็ตาม
ในเวลาเพียงปีเศษก็ยังพบพันธุ์ปลาในบริเวณลำคลองเช่นกัน
ในการศึกษาเบื้องต้นนี้ ผลผลิต (productivity)
ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ประมาณ 20 มก./ม2
พันธุ์ไม้ที่ปลูกยังเติบโตไม่เต็มที่
การที่จะอาศัยให้เป็นแหล่งหาอาหารและอาศัยร่มเงาในการอนุบาลสัตว์วัยอ่อนก็ยังไม่ได้มากนัก
จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอยู่นั้น
พบว่าบางฤดูจะมีปลาจำนวนมาก
โดยเฉพาะปลากระบอกและปลาหมอเทศ
ซึ่งตรงกับที่ได้ทำการศึกษาในครั้งนี้
และมีปลาบางชนิดที่มีผู้พบมาก่อนแต่ไม่พบในการศึกษาครั้งนี้อยู่สองชนิดคือ
ปลากระพงขาว และปลานวลจันทร์ทะเล
การศึกษาสำรวจพันธุ์ปลาครั้งนี้ ได้พบปลาเพียง 9 ชนิด
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาเศรษฐกิจ
เป็นอาหารของชาวบ้านได้ทุกชนิด ซึ่งได้แก่
|
|
ปลากระบอกหางแบน |
Mugil dussumieri
(C.&V.) |
กระบอก |
Mugil sunviridis
(C.&V.) |
กระพงขาว |
Lates calcarifer
(Bloch) |
ข้างลาย |
Therapon jarboa (Forskal) |
นวลจันทร์ทะเล |
Chanos chanos (Forskal) |
ตะกรับ |
Scatophagus argus
(L.) |
ดอกหมาก |
Gerres abbreviatus
Bleeker |
ตีน |
Periophthalmodon
sp. |
หมอเทศ |
Tilapia mossambica
(Peters) |
|
|
ปลากระบอก
Mugil dussumieri (C.&V.) |
|
ปลากระบอก กระบอกหางแบน (Mullet)
วงศ์ : Mugilidae พบ
2 ชนิด คือ
Mugil dussumieri
(C.&V.)
และ Mugil sunviridis (C.&V.)
ปลากระบอกในวงศ์
Mugilidae
มีลำตัวค่อนข้างยาว
ส่วนหัวมักทู่และมน ปากเล็ก เกล็ดใหญ่
สีขาวเงิน มีอยู่มากชนิด ในทะเลและย่านน้ำกร่อย
โดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลน มีนิสัยชอบรวมอยู่เป็นฝูงใหญ่
เป็นปลาที่กินพืชน้ำพวกสาหร่ายทะเลเป็นอาหาร
ฝูงลูกปลากระบอกซึ่งมีจำนวนมากจะว่ายหากินตามบริเวณปากแม่น้ำย่านน้ำกร่อยและเลยลึกเข้าไปในลำคลองที่ผ่านบริเวณป่าแสม
โกงกาง นับเป็นปลาเศรษฐกิจมีผู้นิยมรับประทานมาก
มีเนื้ออร่อย เหมาะในการปรุงอาหารได้หลายอย่าง
|
|
ปลากระพงขาว
Lates calcarifer (Bloch) |
ปลากระพงขาว (White seabass, Giant
seaperch)
วงศ์ : Latidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Lates calcarifer (Bloch)
เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก
เป็นที่นิยมเลี้ยงและรับประทานกันแพร่หลาย
รูปร่างลำตัวยาว จะงอยปากยื่นยาวและแหลม ปากกว้าง
เกล็ดใหญ่ สีพื้นลำตัวขาวเงินปนสีน้ำตาล ด้านท้องสีขาว
ในธรรมชาติสามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำเค็ม น้ำกร่อย
และน้ำจืด พบอยู่ทั่วไปในแถบชายฝั่งทะเล
โดยเฉพาะย่านป่าชายเลน
มักจะอพยพเข้าไปหาอาหารและอาศัยในแม่น้ำลำคลองย่านน้ำกร่อย
นิสัยการกินอาหารเป็นพวกปลากินเนื้อ พวกลูกกุ้ง ลูกปลา
และสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ ราคาค่อนข้างแพง รสชาติดี
นิยมรับประทานกันมาก
ขณะนี้มีการเพาะเลี้ยงกันแพร่หลายมาก
นักวิชาการประมงประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์ในบ่อเลี้ยง
สามารถผลิตลูกปลาได้มาก
อีกทั้งยังส่งจำหน่ายต่างประเทศได้อีกด้วย
|
|
ปลานวลจันทร์ทะเล
Chanos chanos
(Forskal) |
|
ปลานวลจันทร์ทะเล หรือชะลิน (Milkfish)
วงศ์ : Chanidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Chanos chanos
(Forskal)
เป็นปลาที่ปรับตัวได้ดี อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเล
น้ำกร่อย และน้ำจืด
โดยเฉพาะลูกปลาวัยอ่อนจะเข้ามาอาศัยเจริญเติบโตในป่าชายเลนที่มีทางน้ำติดต่ออกสู่ทะเล
เมื่อถึงฤดูลูกปลาเข้ามาประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคม
ชาวบ้านจะคอยจับโดยใช้เครื่องมือเรียกว่า "ซั้ง"
ซึ่งจะนำลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อต่อไป
ในประเทศฟิลิปปินส์มีการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลนี้กันอย่างแพร่หลาย
และยังส่งลูกปลาไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไต้หวัน
เป็นปลาที่รู้จักกันดีของชาวฟิลิปปินส์
ซึ่งเรียกปลาชนิดนี้ว่า Bandang
เช่นเดียวกับที่คนไทยรู้จักปลาทู
ลักษณะของลำตัวเพรียวยาว จะงอยปากค่อนข้างแหลม
หางหยักเว้ารูปส้อม ลำตัวมีสีขาวเงิน
เกล็ดเล็กละเอียด ด้านบนลำตัวจะมีสีเขียวอมน้ำเงิน
นิสัยการกินเป็นปลากินพืช โดยเฉพาะพวกสาหร่ายทะเล
ปลาชนิดนี้สามารถนำมาเลี้ยงในบ่อน้ำจืดได้
แต่ต้องค่อยๆ เปลี่ยนลดความเค็มของน้ำลงเรื่อยๆ
วิธีการนี้เรียกว่า
acclamatization ปลาที่เจริญวัยพร้อมสืบพันธุ์จะวางไข่ในทะเลลึก
และลูกปลาจะเข้ามาอาศัยเจริญในธรรมชาติตามป่าชายเลน
ในประเทศไทยมีการจับลูกปลาได้ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร จันทบุรี และตราด เป็นต้น