|
|
ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงไม้
ระบบนิเวศของป่าชายเลนถูกกำหนดด้วยการขึ้นลงของน้ำทะเล
ชาวบ้านจะช่วยกันปลูกป่าเพื่อนำต้นไม้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและหารายได้เลี้ยงครอบครัว
เช่น เผาไม้โกงกางเพื่อทำเป็นฟืนและถ่านที่มีคุณภาพดี
ใช้ไม้สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องใช้ในครัวเรือน
และเครื่องมือทำประมง เป็นต้น
Mangrove
Forest : as "THE LUMBER SHOP"
The mangrove Forest
ecosystem is affected by high tide and ebb tide.
Villagers join into plant mangrove trees for daily
utilization and households incomes, for example,
Rhizophora sp. being made as supreme charcoal, firewood,
furniture and fishing gears etc. |
|
|
|
ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงยา
วิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าชายเลน
ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากรากเหง้าแห่งภูมิปัญญาการรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นต่อไป
ด้วยคุณค่าทางสมุนไพรของพันธุ์ไม้เกือบทุกชนิดในป่าชายเลน
อาทิ เหงือกปลาหมอดอกม่วง มีสรรพคุณแก้โรคมะเร็ง โรคหืดหอบ
วัณโรค และอัมพาต เป็นต้น
Mangrove
Forest : as "THE DRUG
STORE"
The local wisdom
of villagers living in mangrove forests area involving
the use of herbs has been transferred from generation to
generation. In mangrove forest, plenty of plants are
recognized as medicinal herbs, for example, acanthas
ilicfolius is known for its medicinal properties of
Cancer, Asthma Tuberculosis, Paralysis ect. |
|
|
|
ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงบำบัดน้ำเสีย
รากที่สลับซับซ้อนและหนาแน่นคล้าย "ตะแกรง"
ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน มีศักยภาพสูงในการดูดซับสารพิษ
และเก็บกักตะกอน กลั่นกรองขยะ สิ่งปฏิกูลของเสียต่างๆ
ที่มาจากพื้นบก อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์
เป็นการลดมลภาวะทางน้ำ ส่งผลให้น้ำใสสะอาด
Mangrove
Forest : as "THE WASTE
TREATMENT PLANT"
The complex and
crowded roots of mangrove trees are like filters that
effectively absorb toxic wastes, store sediments and
screen wastes from environment. This would significantly
reduce water pollution which is one of the most serious
environmental problems facing Thailand today. |
|
|
ที่มา
: ปฏิทินการไฟฟ้านครหลวงประจำปี 2548 |
|
|