การรักษาอาการปวดหลังมีหลายวิธี แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ
การสร้างความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อลำตัว
และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
การออกกำลังต้องกระทำอย่างระมัดระวัง
และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง
ขั้นตอนหรือท่าในการออกกำลังกายต้องกระทำตามความเหมาะสมของร่างกาย
และอาการของโรค
วัตถุประสงค์
-
1.
ลดอาการเจ็บปวด
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการกดทับของรากเส้นประสาท
การออกกำลังกายที่ถูกวิธีทำให้การกดทับน้อยลง
หรือไม่กดเลย
-
2.
เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแอ
กล้ามเนื้อที่ไม่มีความทนทาน
ทำให้เกิดอาการปวดหลังแบบไม่ทราบสาเหตุได้ง่าย
การสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
มีความจำเป็นก่อนที่จะกลับไปประกอบอาชีพการงานตามปกติ
-
3.
ลดค่าแรงกดต่อเนื้อเยื่อต่างๆ
หรือโครงสร้างของกระดูกจะเปลี่ยนไปตามลักษณะ
ท่าทางต่างๆ
ถ้ากล้ามเนื้อลำตัวแข็งแรงก็จะไปช่วยลดแรงกดนี้ได้
-
4.
เพิ่มความคล่องตัว
โอกาสเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ลดน้อยลง
มีความยืดหยุ่นในการทำงานดี
-
5.
สร้างความมั่นคง
กล้ามเนื้อแข็งแรงจะสร้างความมั่นคงแก่กระดูกสันหลังยิ่งขึ้น
-
6.
บุคลิกภาพที่ดี
ทำให้ไม่เกิดการแอ่นหลังหรือก้มหลังมากเกินไปจนเป็นผลให้เกิดอาการปวดหลังตามมา
โดยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องให้มากที่สุด
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อลำตัว
-
1.
งอลำตัว (Flexion Exercise)
-
2. แอ่นหลัง (Extension
Exercise)
-
Flexion Exercise
มีท่าที่เหมาะสมดังนี้
-
ท่าที่ 1 กดหลังติดพื้น (Posterior
Pelvic tilt)
-
1. นอนหงาย
ชันเข่าทั้งสองข้าง
-
2.
เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและสะโพก โดยการขมิบก้น
แขม่วท้อง กดหลังติดพื้น
-
3.
เกร็งไว้ นับ 1-5 ช้าๆ แล้วปล่อย
ไม่ควรกลั้นหายใจขณะเกร็ง
-
4.
ทำซ้ำ 5 ครั้ง ดังรูปที่ 1
-
รูปที่ 1 กดหลังติดพื้น
ท่านี้ควรใช้ออกกำลังกายในระยะเฉียบพลัน (เกิน 48
ชั่วโมง) เพื่อเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง
ซึ่งแรงนี้ทำหน้าที่ช่วยลดแรงกดที่เกิดขึ้นต่อกระดูกสันหลัง
ท่าที่ 2 ซิท-อัพ
เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อหน้าท้อง
1.
นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง
2. ยกศีรษะและไหล่ขึ้น
ยื่นมือทั้งสองไปแตะเข่า อย่าก้มศีรษะแทนการยก
พยายามให้ศีรษะตรงเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดคอภายหลัง
3. เกร็งไว้ นับ 1-5 ช้าๆ แล้วปล่อย ทำซ้ำ 5
ครั้ง ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 ซิท-อัพ
|