นอกไปจากเรื่องศิลปะ
วัฒนธรรม
และมรดกไทยทางด้านสถาปัตยกรรมและโบราณสถาน
และโบราณวัตถุแล้ว
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ยังทรงสนพระทัยที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
ทางด้านนาฎศิลป์และดนตรีไทย
ให้ดำรงคงอยู่และสืบทอดไปถึงอนุชนรุ่นหลังอีกด้วย
โดยทรงรวบรวมและบันทึกผลงานของศิลปินไทยซึ่งไม่ค่อยจะได้รับการเหลียวแลเอาใจใส่ในอดีตไว้เป็นแบบฉบับมิให้สูญหาย
กับทั้งยังทำนุบำรุงเกื้อกูลศิลปินเจ้าของผลงานดังกล่าวที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างดียิ่ง
สำหรับพระองค์เองนั้น
ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า
ทรงเป็นเอตทัคคะในทางดนตรีไทยผู้หนึ่ง
โดยทรงเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิดแต่ที่โปรดทรงอยู่เป็นประจำคือ
ระนาด ซอ และฆ้องวง
โดยได้ทรงร่วมบรรเลงในการแสดงมหกรรมดนตรีไทยครั้งสำคัญๆ
มิได้ขาด
นอกจากที่ทรงเป็นนักดนตรีไทยแล้ว
งานทางด้านศิลปะอีกสาขาหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปก็คือ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ทรงเป็นกวีจากการที่ทรงงานด้านกวีนิพนธ์
ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองมาเป็นจำนวนมาก
ทรงมีพระราชปฏิภาณในเชิงกวีอย่างยอดเยี่ยมผู้หนึ่ง
โดยทรงสักวากลอนสดได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว
และทรงร่วมในการเล่นสักวาครั้งสำคัญหลายครั้งหลายหน
ทรงมีพระราชนิพนธ์ที่ได้พิมพ์เผยแพร่แล้วในโอกาสต่างๆมากมาย
ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองทั้งในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
พระราชนิพนธ์ต่างๆนั้น
ได้รับความนิยมแพร่หลาย
และมีการแปลออกเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา
ส่วนใหญ่จะเป็นสารคดีที่อ่านง่าย
ให้ความสนุกสนาน
และความรู้ไปพร้อมๆกันด้วย
การที่มีพระราชหฤทัยฝักใฝ่ในสรรพวิชาต่างๆ
เหล่านี้
จะเห็นได้อย่างแจ่มชัดว่ามิเพียงแค่สนพระทัยเท่านั้น
หากแต่ได้ศึกษา
และปฏิบัติอย่างจริงจัง
ทั้งจากตำรา
และทรงเข้ารับการศึกษาในสถาบันต่างๆ
ทั้งในและนอกประเทศ
ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของพระองค์
ที่จะทรงใฝ่หาความรู้ในเรื่องต่างๆ
ให้ถ่องแท้ถึงแก่นเป็นอย่างดี
จนเป็นที่น่าประหลาดใจว่าทรงมีเวลาที่จะศึกษา
และปฏิบัติในทุกเรื่องนั้นได้อย่างไร
ภายในเวลาที่มีเพียงน้อยนิด
เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชภารกิจที่มีมากมายมหาศาล
ดังที่ศาสตราจารย์ สัตยพรต
ศาสตรี
เขียนสดุดีไว้ในประพันธ์คาถา
ตอนหนึ่งว่า
"...เวลาของพระองค์มีน้อย
แต่ความคิดของพระองค์มีมากมาย
...แม้จะทรงพระราชภาระที่หนักมาก
แต่พระองค์ก็ไม่เคยละทิ้งการศึกษาวิทยาการ
พระองค์ทรงอุทิศพระองค์ในการสงเคราะห์ประชาชน
และในการศึกษาวิทยาการเป็นประจำ..."
|