ภูมิศาสตร์สวรรค์
สวรรค์ชั้นนี้มีสันดุสิตเทวราชเป็นผู้ปกครอง คำว่า ดุสิต แปลว่า เป็นที่บันเทิงใจแห่งเทพ สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าก่อนจะจุติลงมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ก็สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นนี้ ไตรภูมิพระร่วงกล่าวว่า "หมู่เทวดาทั้งหลายอันอยู่ในดุสิตานั้น รู้บุญรู้ธรรม ทั้งพระโพธิสัตว์ ผู้สร้างสมภาร อันจะลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ เทียรย่อมสถิตอยู่ในชั้นฟ้านั้นแล ฯ บัดนี้พระศริอริยเมตไตรยเจ้า ผู้จะได้ลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าภายหน้าในภัททกลัปนี้ ก็เสด็จสถิตในที่นั้นแล ย่อมตรัสเทศนาธรรมให้เทพยดาทั้งหลายฟังอยู่ทุกเมื่อมิขาดแลฯ " (๕) สวรรค์ชั้นนิมมานรดี สวรรค์ชั้นนี้หมายความว่า เทพที่สถิตอยู่ย่อมมีอำนาจเนรมิตสิ่งใดๆ ได้ตามปรารถนา (๖) สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เทพที่สถิตอยู่ชั้นนี้ไม่ต้องเนรมิตอันใด เมื่อปรารถนาสิ่งใดเทพชั้นอื่นเนรมิตให้หมด ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นนี้คือ วสวัตตีเทวราชกับพระยามาราธิราช ซึ่งเป็นปรปักษ์แก่กัน ภูเขาสวรรค์
ภูเขาที่สำคัญที่อ้างอิงถึงในวรรณคดีไทยอยู่เสมอคือ
ภูเขาที่สวรรค์ตั้งอยู่บนยอด
ได้แก่
ส่วนเขาไกลาส หรือไกรลาสนั้น พจนานุกรมว่า "ชื่อเขาที่พระอิศวรอยู่ " เป็นยอดเขาสูงสุดในโลกในเทือกเขาหิมาลัย บางท่านว่า คือยอดเขาเอเวอเรสต ในปัจจุบันนั่นเอง ทะเลสวรรค์ ทะเลสำคัญของสวรรค์ชื่อ สีทันดร พจนานุกรมว่า " สีทันดร คือ ชื่อทะเลในคัมภีร์ไตรภูมิ อยู่ระหว่างสัตปริภัณฑ์คีรี" ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ น้ำในทะเลนี้ในและเรียบมาก ไม่ขึ้นไม่ลงนิ่งสงบอยู่ตลอดเวลา แม้แววหางนกยูงตกลงไปก็ไม่จมทันที แต่จะค่อยๆจม และไม่ไหลลอยไปจากที่หล่นลง เรื่องนี้ความปรากฎในคดีเรื่องกากี ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนพญาครุฑต่อว่าคนธรรพ์ว่า
|