๑
 |
ด้วงกว่างดาว
(Cheirotonus parryi Gray, วงศ์ Scarabaeidae)
เป็นด้วงขนาดใหญ่ ตัวผู้มีขาหน้ายาวสวยงาม ตัวเมียขาหน้าสั้น ด้วงชนิดนี้พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออก
|
๒

|
ด้วงคีมยีราฟ
(Chadagnathusgiraffa Fabricus, วงศ์ Lucanidae)
พบที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก ด้วงคีมหรือด้วงเขี้ยวกางในประเทศไทยมีหลายชนิดและมีรูปร่างแปลกสวยงามจึงมีการล่าจับกันมาก |
๓

|
ด้วงดินขอบทองแดง
(Mouhotia batesi Lewis , วงศ์ Carabidae)
ด้วงดินที่มีขนาดใหญ่ ตัวสีดำ แต่ขอบบริเวณส่วนอกมีเหลือบเป็นสีทองแดง พบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
๔

|
ด้วงดินปีกแผ่น
( Mormolyce phyllodes Hegenb, วงศ์ Carabidae)
ด้วงดินที่มีปีกหน้าแบนบางเป็นแผ่นทำให้ดูสวยและแปลก เป็นแมลงที่หายาก พบเฉพาะภาคใต้ |
๕

|
ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว
( Lyssa zampa Butler, วงศ์ Uraniidae)
ผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ บินเร็วคล้ายค้างคาว พบทุกภาค |
๖

|
ผีเสื้อกลางคืนหางยาว
( Actiasspp. วงศ์ Saturniidae)
ผีเสื้อขนาดใหญ่ปลายปีกหลังยาวลงมา ส่วนใหญ่มีสีเหลืองเนื่องจากมีขนาดใหญ่และสวยงามจึงมีการล่าจับกันมาก แมลงในสกุลนี้ที่พบแล้วในประเทศไทยมี 4 ชนิดคือ
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก( Actias maenas Doubleday)
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง ( A. rhodopneuma
Rober)
ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง ( A.selene Huber)
และผีเสื้อหางยาวปีกลายหยัก ( A.sinensis heterogyna Mell ) |
 |
๗

|
ผีเสื้อไกเซอร์
( Teinopalpus spp. วงศ์ Papilionidae)
เป็นแมลงอนุรักษ์ที่กำหนดไว้ในาบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยมีชนิดเดียว
คือผีเสื้อไกเซอร์ (Teinopalpus imperialisimperatrix de
Niceville) พบที่ภาคเหนือ เฉพาะบนดอยผ้าห่มปก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ชอบบินอยู่สูงเหนือยอดไม้ เป็นแมลงที่หายาก |
๘

|
ผีเสื้อถุงทอง
( Troides spp. วงศ์ Papilionidae)
เป็นแมลงอนุรักษ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยที่พบแล้วมีอยู่หลายชนิด เช่น ผีเสื้อถุงทองป่าสูง ( Troides helena
Linnaeus) ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ ( T. amphrysus
Cramer), ผีเสื้อถุงทองธรรมดา( T.aeacus
Felder) ถึงแม้ว่าผีเสื้อถุงทองบางชนิดสามารถนำมาเลี้ยงได้ แต่ไม่ได้ทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในเชิงธุรกิจ |
 |
๙

|
ผีเสื้อนางพญา
( Stichophthalma sPP. วงศ์ Amathusiidae)
เป็นผีเสื้อกลางวันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พบ 3 ชนิดคือ ผีเสื้อนางพญาพม่า( Stichopthalma louisa Wood-Mason), พบที่ภาคเหนือ ผีเสื้อนางพญาเขมร (S.cambodia Hewitson ) พบที่ภาคตะวันออก
และผีเสื้อนาพญากอดเฟรย์ ( S.godfreyi
Rothschild) พบที่ภาคใต้ |
 |
๑๐

|
ผีเสื่อภูฐาน
( Bhutanitis spp. วงศ์ Papilionidae)
เป็นแมลงอนุรักษ์ที่กำหนดไว้ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยมีชนิดเดียวคือผีเสื้อภูฐาน หรือ ผีเสื้อเชียงดาว ( Bhutanitis lidderdalii Atkinson) แต่ในปัจจุบันไม่เคยพบอีก สันนิษฐานว่าคงสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว |
๑๑

|
ผีเสื้อรักแร้ขาว
( Papilio protenor euprotenor Fruhstorfer, วงศ์ Papilionidae)
เป็นผีเสื้อหายากอีกชนิดหนึ่ง บริเวณขอบปีกหลังมีสีขาว พบแถบภาคกลาง |
๑๒

|
ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้
( Meandrusa gyas
Westwood, วงศ์ Papilionidae )
พบที่ภาคเหนือและภาคใต้ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกัน |

|
๑๓

|
ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว
( Papilio palinurus Fabricius, วงศ์ Papilionidae)
มีสีสวยงามพบที่ภาคกลางและภาคใต้ |