เพื่อนสุขภาพ..
ภาวะกระดูพรุน ปวดหลัง


 
HOME     ห้องสมุด




 

 


ป้ อ ง กั น แ ล ะ รั ก ษ า ไ ด้ ไ ห ม ?

0000

        กระดูกในร่างกายของคนเราทั้งหญิงและชายเปรียบเสมือนธนาคารที่มีการฝากและถอนได้ตลอดชีวิต หากมีการสะสมมวลกระดูกไว้มีความหนาแน่นมาก กระดูก็จะหนาและแข็งแรง แต่ถ้าหากมีการสะสมมวลกระดูกน้อยแต่ถอนออกมามาก กระดูกของเราก็จะบางและอ่อนแอ
          ตามธรรมชาติในวัยเด็กจะเริ่มสะสมมวลกระดูกไปเรื่อยๆ จนสูงสุดถึงอายุ 25-30 ปี หลังจากนั้นเมื่ออายุมากขึ้นทั้งผู้หญิงผู้ชายจะมีกระดูกบางลงเรื่อยๆ เพราะจะเริ่มมีการสูญเสียมวลกระดูกหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่ และจะยิ่งบางลงอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน สาเหตุหนึ่งของผู้หญิงเนืองจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ภาวะกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีกระดูกบางลงจนมีโครงสร้างของกระดูกที่ไม่แข็งแรง ทำให้มีโอกาสหักง่าย แม้มีการล้มหรือกระแทกเบาๆ ก็ตาม





 

 



 

 






 

 HOME

 

 

         ภาวะกระดูกพรุนป้องกันได้อย่างไร ?

          กระดูกพรุนเป็นภาวะที่สามารถป้องกันได้ การป้องกันทำได้ไม่ยาก เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ตั้งแต่วันนี้เพื่อสุขภาพที่ดี
          - กินอาหารให้ครบหมู่อย่างสมดุล  วิตามิน เกลือแร่และสารอาหารที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ เลือกกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น การดื่มนมตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเพื่อสะสมแคลเซียมไว้อย่างสม่ำเสมอ
          - หลีกเลี่ยงการกินเกลือ เนื้อสัตว์ และฟอสฟอรัสมากเกินไป
          - งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่จะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศซึ่งควบคุมการสร้างกระดูก
          - พยายามดื่มกาแฟน้อยๆ เนื่องจากคาเฟอีนจะกระตุ้นให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น
          - ออกกำลังกายชนิดแบกรับน้ำหนัก (Weight-bearing exercise) อย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งเหยาะๆ หรือเดิน จะเป็นผลดีต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ
          - ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ
          - หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์
          - พยายามทำกิจกรรมต่างๆ อยู่เสมอ อย่าอยู่นิ่งๆ
          ปัจจุบันการใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อป้องกันกระดูกพรุนไม่เป็นที่แนะนำ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของการใช้ฮอร์โมนเป็นเวลานาน

          หากเกิดภาวะกระดูพรุนแล้ว จะรักษาอย่างไร ?

          หากตรวจพบว่าเกิดกระดูกพรุนไปแล้วก็อย่าปล่อยไว้โดยไม่รักษา ที่สำคัญคือควรป้องกันโอกาสที่จะกระดูกหักได้ เช่น ระวังหกล้ม ไม่เดินในที่มืด ระวังการลื่นล้มในห้องน้ำ ไม่ยกของหนัก ไม่ปีนที่สูง ไม่ก้มหยิบของจากพื้น เมื่อจะหยิบของให้ย่อเข่าลงและให้หลังตรงอยู่เสมอ ทำกิจกรรมให้ช้าลง อุบัติเหตุมักเกิดขึ้นจากความเร่งรีบ งดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกบางลง พยายามออกกำลังกายที่มีการแบกรับน้ำหนัก เป็นต้น
          การรักษาภาวะกระดูกพรุน มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น มียาหลายกลุ่มที่ใช้ในการรักษาภาวะกระดูกพรุนได้แก่
          1. ยากลุ่ม Bisphosphonates เช่น Alendronate เป็นต้น  เป็นการรักษาภาวะกระดูกพรุนโดยไม่ใช้ฮอร์โมน ยากลุ่มนี้มีกลไกลดการทำลายของเนื้อกระดูก โดยยับยั้งเซลล์ที่ทำลายกระดูก และช่วยให้เซลล์ที่สร้างกระดูกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2.  ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy,HRT) มักใช้ควบคุมอาการที่เกิดจากการหมดประจำเดือนในหญิงวัยทอง นอกจากนี้ยังสามารถลดการสลายตัวของกระดูก จึงใช้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้ แต่จากผลการศึกษา Women Health's Initiative Study เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ผู้หญิงที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข และมีผลต่อการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้
          3.  ยากลุ่ม Selective Estrogen Receptor Modulation จะช่วยลดการสลายตัวของกระดูก และเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกในหญิงวัยหมดประจำเดือน
          4.  ยากลุ่มวิตามินดีและสารประกอบที่เกี่ยวข้อง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้
          อย่างไรก็ตามการรักษาและการใช้ยาต่างๆ ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การรับประทานแคลเซียมแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เปรียบเสมือนกับมีตุ่มน้ำที่รั่วและน้ำในตุ่มมีปริมาณน้อย การรับประทานแคลเซียมเพียงอย่างเดียวเหมือนกับการเปิดน้ำก๊อกเติมตุ่มที่ยังรั่วอยู่โดยไมอุดรูรั่ว  ซึ่งถ้ารูรั่วใหญ่ขึ้นก็จะทำให้น้ำหมดตุ่มได้ ยารักษาโรคกระดูกพรุนจะช่วยอุดรูรั่วไว้และการรับประทานแคลเซียมเสริมจะทำให้ปริมาณแคลเซียมในกระดูกของคุณเพิ่มขึ้น