ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร
มีสภาพอากาศร้อนชื้นและมีปัจจัยมากมายที่ส่งผลให้ชนิดพันธุ์พืชพัฒนาขึ้นเป็นสังคมป่าขนาดใหญ่ที่เรียกรวมว่า
ป่าเขตร้อนและยังสามารถแบ่งเป็นสังคมป่าชนิดย่อยลงมาได้ดังนี้
1. สังคมป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest)
ป่าไม่ผลัดใบเป็นพืชที่ไม่ผลัดใบหมดทั้งต้น
แต่จะให้ความเขียวชอุ่มอยู่เสมอโดยใบจะค่อยๆ
ทยอยร่วงแล้วมีการผลิใบขึ้นทดแทนตลอดทั้งปีโดยแบ่งแยกออกเป็นย่อยๆ
คือ
- ป่าดิบชื้น (Tropical
Rain Forest of Moist Evergreen Forest)
มีสภาพรกทึบ
ต้นไม้เบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น
พื้นดินเป็นดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี
สามารถพบป่าดิบชื้นได้มากทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย
เช่น ต้นยางนา ยางยูง ตะเคียนทอง ฯลฯ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
รวามทั้งความหลากหลายทางชีวภาพเอาไว้ด้วย
- ป่าดิบแล้ง (Dry
Evergreen Forest)
มีลักษณะป่าไม่ผลัดใบที่มีพันธุ์ไม้ผลัดใบขึ้นผสมอยู่
สภาพโดยรวมยังดูโปร่งใส ดินลึก
สามารถกักเก็บน้ำได้ดีพอสมควร
เพื่อให้ใบไม้เขียวสดอยู่ได้ตลอดฤดูแล้ง
ในประเทศไทยมักผสมอยู่กับป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าไผ่
ป่าดิบแล้งผืนใหญ่ที่พบในปัจจุบัน เช่น
วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติทับลานและเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
- ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
จะพบในพื้นที่สูง
ทำให้มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี เมฆหมอกปกคลุมอยู่เสมอ
จึงเรียกป่านี้ว่า "ป่าเมฆ"
มีความเขียวชอุ่มตลอดปี ต้นไม้มีอยู่หนาทึบ
ภายในป่าร่มครึ้ม ได้รับแสงเพียงรำไร
แม้จะเป็นช่วงเวลากลางวัน
นับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศไทย
จึงกลายเป็นแหล่งรวมของนกอพยพในฤดูหนาวและสัตว์หายาก
เช่น จิ้งจกน้ำ และหนูน้ำอ่างกา เป็นต้น
- ป่าสนเขา (Pine
Forest of Coniferous
Forest)
พบบนยอดเขาที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและไม่ชื้นจัดจนเกินไป
ป่าชนิดนี้เป็นหย่อมเล็กๆ
สลับกับป่าดิบเขาและป่าดิบแล้ง
ป่าสนเขามีไม้ใหญ่และไม้พุ่มกระจายอยู่ห่างๆ กัน
เป็นโอกาสให้แสงตกถึงได้มาก
มีพืชตระกูลหญ้าปกคลุมอยู่ทั่วไป
ป่าสนเขามีอยู่หลายแห่ง เช่น ป่าสนวัดจันทร์
ในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ภูกระดึงจังหวัดเลย
เป็นต้น
|
ป่าดิบแล้ง
|
|