HOME  :  7

 
  ป่าไม้เมืองไทย  
 

          - ป่าชายเลน (Mangrove Forest) เป็นป่าที่ขึ้นอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเล ปากอ่าว ที่น้ำทะเลท่วมถึง จะพบในแถบภาคใต้ของบริเวณฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่บริเวณจังหวัดตราดเรื่อยลงมา ปัจจุบันมีป่าชายเลนเหลืออยู่ประมาณ 1.2 ล้านไร่ ดินในป่าชายเลนเป็นดินเลนนิ่มๆ เกิดจากการทับถมของตะกอนหลายชนิดด้วยกัน พืชพรรณปรับตัวด้วยการสร้างรากค้ำยัน ช่วยพยุงลำต้นไว้ พรรณไม้เด่นๆ ของป่าชายเลนมีหลายชนิด อาทิ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสมขาว ลำพู ลำแพน และโพธิ์ทะเล เป็นต้น ป่าชายเลนถือเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์ทะเลหลายหลากชนิด และยังเป็นด่านป้องกันการพังทลายของแนวชายฝั่ง

          - ป่าชายหาด (Beach Forest) ป่าชายหาดจะพบได้ตามฝั่งทะเลที่เป็นดินทราย ดินเค็ม ป่าชนิดนี้เป็นป่าโปร่ง มีพรรณไม้ไม่มากนัก  พืชส่วนใหญ่ของป่านี้จะมีลักษณะทนเค็ม และทนต่อสภาวะขาดน้ำได้ดี พรรณไม้เด่นของป่านี้ที่พบมี สนทะเล กุ่มบก ลำเจียก สลัดได หูกวาง หยีทะเล ฯลฯ ป่าชายหาดในประเทศไทยพบทั้งในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้  สลับช่วงกับป่าชายเลน ป่าชายหาดที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่บนเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล
          - ป่าพรุ (
Peat Swamp Forest)  เป็นป่าลี้ลับที่มนุษย์ยังคงต้องหาคำตอบ จากการศึกษาพบว่ามีสิ่งมีชีวิตที่หายากอาศัยอยู่มากมาย เช่น ปลากะแมะ แมวป่าหัวแบน นกอักไม่ต่ำกว่า 200 ชนิด ป่าพรุในประเทศไทยพบได้ทั้งบนภูเขาสูงและบนชายฝั่งทะเล ส่วนป่าพรุที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดคือ พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ป่าพรุมักจะอยู่ในบริเวณที่ลุ่มต่ำหรือแอ่งน้ำขัง พรรณไม้ของป่าพรุเป็นพรรณไม้ป่าดิบชื้น ขึ้นอย่างหนาแน่น มีทั้งไม้ขนาดใหญ่ที่มีรากค้ำยันซับซ้อน มีพืชดัชนีหลายชนิด ซึ่งนับเป็นของขวัญจากธรรมชาติที่มอบให้แก่มนุษยชาติ        
          2. สังคมป่าผลัดใบ (
Deciduous Forest ) เป็นพันธุพืชที่มีการผลัดใบในช่วงต้นฤดูแล้ง ป่าผลัดใบมักพบบริเวณที่มีฝนตกต่ำกว่าในเขตป่าดงดิบ อีกทั้งยังมีไฟป่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง พื้นที่ป่าผลัดใบนี้มีถึงร้อยละ 70 ของพื้นที่ประเทศ โดยแยกเป็นชนิดย่อยๆ คือ
         - ป่าเต็งรัง (
Dry Dipterocarp Forest)  มีไม้จำพวกตระกูลยางเป็นส่วนมาก ต้นไม้ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายหรือดินลูกรัง พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีช่วงแห้งแล้งจัดนานเกิน 4 เดือนต่อปี
          - ป่าทุ่งหญ้า (Savanna) เป็นพืชค่อนข้างมีน้อยในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลังจากป่าเดิมถูกทำลาย ป่าทุ่งหญ้าพบมากตามพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของทุ่งหญ้าจะพบไม้ยืนต้นทนไฟขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ กัน เช่น หญ้าแฝก หญ้าคา หญ้าพง และหญ้าใบไม้ ป่าทุ่งหญ้ามักปรากฏในบริเวณอันแห้งแล้ง จึงทำให้เกิดไฟป่าขึ้นทุกปี
                                                                                                                                 อ่านต่อ






ป่าพรุ            






ป่าเต็งรัง          






ป่าเปลี่ยนสีต้นฤดูแล้ง  


ป่าทุ่งหญ้า