ขั้นตอนสำคัญในการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์มี
7 ขั้นตอนดังนี้
-
เตรียมการวาดภาพ
-
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างอย่างละเอียด
-
ร่างภาพให้มีขนาด
และสัดส่วนถูกต้อง
-
วาดรายละเอียด
และบันทึกแสง-เงา
-
ลอกภาพร่างลงบนกระดาษที่ใช้จริง
-
การลงแสง-เงา
(rendering)
-
ตรวจสอบขั้นสุดท้าย
ขั้นตอนการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์
1.
เตรียมการวาดภาพ
การกำหนดขนาดภาพวาดมีความสำคัญมากต่อผลสำเร็จของการนำเสนอภาพโดยเฉพาะเมื่อการวาดภาพนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่
ขนาดของภาพต้นฉบับไม่ควรมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป
โดยปกติไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินกว่า
2
เท่าของขนาดที่จะลงพิมพ์
การวาดภาพที่มีขนาดใหญ่จะเสียวเลามากว่าการวาดภาพขนาดเล็ก
นอกจากนี้การย่อภาพมากจะทำให้ภาพผิดเพี้ยน
ทำให้เส้นที่บางดูหนาขึ้น
บริเวณที่มีการแรเงาด้วยเส้นถี่จะกลายเป็นผืนดำขาดมิติ
ดังนั้นการเลือกขนาดเส้น
หรือการการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
ในภาพจึงต้องคำนึงถึงการย่อภาพด้วยเสมอ
ปกติไม่นิยมวาดภาพให้มีขนาดเล็กกว่าขนาดลงพิมพ์
เพราะการขยายภาพมักทำให้รายละเอียดถูกตัดทอน
ขนาดของภาพขั้นสุดท้ายควรพอดีกับขนาดสดมภ์
(column) หรือ เท่ากับ 2 หรือ 3
สดมภ์รวมกันแล้วแต่การจัดหน้า
หากต้องการภาพที่มีหลายชิ้นส่วนในภาพเดียว
เช่น ภาพส่วนของใบ ดอก ผล
ต้น หัว
จะต้องมีการวางแผน
โดยเฉพาะสัดส่วนและขนาดส่วน
(proportion and scale) สัดส่วน
คือความสมส่วน
เป็นความสัมพันธ์กันของขนาดภาพแต่ละภาพที่อยู่ในกรอบเดียวกัน
การจัดวางภาพในกรอบต้องดูสมดุลและเรียงลำดับถูกต้องตามคำอธิบายในเนื้อหาและใต้ภาพ
ขนาดส่วน
มีความสำคัญมากในทางวิทยาศาสตร์
เพระจะบ่งบอกขนาดที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ
ในภาพ
การเลือกขนาดส่วนควรใช้ในอัตราที่ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพได้ชัดเจน
และสามารถบรรจุภาพในกรอบได้สวยงาม
เช่น 2:1:1 หรือ 1: 2
หากต้องการส่งภาพวาดเพื่อลงพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ
ควรศึกษาข้อกำหนดต่างๆ
ในการส่งภาพเพื่อตีพิมพ์ให้ละเอียด
วารสารบางเล่มอาจกำหนดขนาดภาพ
กำหนดขนาดตัวหนังสือ ฯลฯ
ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้อย่างเคร่งครัด
|
อ่านต่อหน้าถัดไป
|
|