|
|
|
คำนำ
I
ประวัติความเป็นมา I
ป่าชายเลนจังหวัดเพชรบุรี I
พันธุ์ไม้ที่ปลูก I
คุณภาพดิน I
คุณภาพน้ำ I
ชนิดของสัตว์ I
สาหร่ายและหญ้าทะเล |
|
คุณภาพน้ำ
: |
กระบวนการต่างๆ
ทางฟิสิกส์และเคมีที่เกิดขึ้นบริเวณป่าชายเลน
ตลอดจนคุณภาพของน้ำทะเลเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์ป่าชายเลน
การขึ้นลงไหลเวียนของน้ำทะเลจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุและสารอาหารระหว่างทะเล
ชายฝั่งข้างเคียง และป่าชายเลน
ทำให้น้ำทะเลในบริเวณป่าชายเลนมีช่วงความเค็มที่เหมาะสม
(10 - 30 ppt) สำหรับสิ่งมีชีวิต
โดยความเค็มของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโต
การอยู่รอด และการแบ่งเขตการขึ้นอยู่ของพันธุ์ไม้
ตลอดจนมีบทบาทสำคัญต่อชนิด ปริมาณ
และการกระจายของสัตว์ในป่าชายเลนอีกด้วย
นอกจากนี้การไหลเวียนระบายน้ำทะเลเข้าออกบริเวณป่าชายเลน
ยังทำให้น้ำในบริเวณป่าชายเลนมีออกซิเจนละลายในปริมาณมากพอในการย่อยสลายอินทรีย์สาร
ตลอดจนซากเศษใบไม้ที่ร่วงหล่น ทับถมกันอยู่ในบริเวณป่า
ทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหาร
และไม่เกิดสภาวะไร้ออกซิเจนจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ขึ้น
|
จุดเก็บตัวอย่างน้ำบริเวณสวนป่าทูลกระหม่อม |
|
|
|
|
จากการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพน้ำบริเวณสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม
พบว่าคุณภาพน้ำทะเลบริเวณจุดสำรวจทั้ง 11 จุด
มีคุณสมบัติเป็นด่างเล็กน้อยเช่นเดียวกับสภาวะน้ำทะเลปกติ โดยมีค่า
pH ระหว่าง 7.5-8.5
ค่าออกซิเจนละลายที่ละลายน้ำโดยทั่วไปมีค่า >
3 ppm
ซึ่งเพียงพอสำหรับการดำรงชีพของสัตว์น้ำ
ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากเครื่องเติมอากาศที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณโครงการ
2-3 เครื่อง
ซึ่งเป็นการช่วยรักษาระดับออกซิเจนละลายให้อยู่ในช่วงปกติได้
ความเค็มของน้ำอยู่ระหว่าง 2.1-6.8 ppt ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของน้ำจืดจากฝน
ทำให้น้ำมีความเค็มค่อนข้างต่ำ
ประกอบกับการที่บริเวณปากคลองบางกราน้อยซึ่งควรเป็นส่วนที่ต่อเชื่อมกับทะเล
เกิดมีทรายมากองทับถมกัน
ปิดกั้นการระบายน้ำเข้าออกและการขึ้นลงของน้ำทะเล
ทำให้น้ำทะเลจากข้างนอกมีความเค็มมากกว่า (จุดสำรวจ 4 ความเค็ม
= 26 ppt) ไม่สามารถไหลเข้ามาผสมกับน้ำจืดในบริเวณป่าปลูกได้ดังเช่นป่าชายเลนทั่วไป
จึงทำให้น้ำมีความเค็มต่ำกว่าระดับความเค็มปกติที่พบในป่าชายเลนธรรมชาติทั่วไปและเป็นที่คาดคะเนว่าในช่วงฤดูแล้ง
เมื่อปริมาณน้ำจืดจากฝนไม่มีหรือมีน้อยมาก
น้ำทะเลในป่าชายเลนนี้น่าจะมีความเค็มสูงมากกว่าปกติด้วย
เนื่องมาจากผลของการระเหยของน้ำออกไป
และไม่มีน้ำทะเลภายนอกเข้ามาเจือจางน้ำที่ขังอยู่ภายในบริเวณป่า
สภาพที่ผิดปกติดังกล่าวอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้บางชนิดที่ปลูกในบริเวณสวนป่าชายเลนพื้นที่แห่งนี้ได้ |
|
สำหรับปริมาณธาตุอาหารหลักๆ เข่น โซเดียม
(Na)
โปแตสเซียม (K)
แคลเซียม (Ca)
แมกเนเซียม (Mg)
เหล็ก (Fe)
และแมงกานีส (Mn)
ซึ่งปกติมีค่ามากเกินพอในน้ำทะเลทั่วไป
พบว่ามีธาตุอาหารหลักเหล่านี้ในน้ำบริเวณสวนป่าชายเลนในปริมาณมากพอเช่นเดียวกับน้ำทะเลทั่วไป
(ตารางที่ 2)
ส่วนธาตุอาหารที่เป็นปัจจัยจำกัดการเจริญเติบโตของพืช
ซึ่งมักพบในปริมาณต่ำ (ค่าเป็น
µ
M)
คือไนโตรเจนและฟอสฟอรัส โดยไนโตรเจนพบอยู่ในรูปของแอมโมเนีมอิออนเป็นส่วนใหญ่
ส่วนไนเตรทและไนไตรท์จะพบในปริมาณที่น้อยกว่า
อัตราส่วนของไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัส (molar ratio)
ของน้ำบริเวณจุดสำรวจโดยทั่วไปมีค่าระหว่าง 1-7
ซึ่งต่ำกว่าค่าที่ควรเป็นมาก (N : P = 16
สำหรับแพลงตอนพืช และ N : P =
30 สำหรับพืชชั้นสูง)
ยกเว้นที่จุดสำรวจที่ 10 (ป่าจาก ซึ่ง N : P =
55) และจุดที่ 11 (น้ำในท่อ
ที่เติมปุ๋ย N : P = 264)
แสดงให้เห็นว่าน้ำทะเลในปริมาณสวนป่าชายเลนนี้
ค่อนข้างขาดแคลนสารอาหารไนโตรเจน
ดังนั้นการทดลองเติมปุ๋ยไนโตรเจนลงในแปลงทดลองจึงเป็นแนวคิดที่ถูกต้อง
หากแต่ว่าต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการเติมสารอาหารเพื่อให้พืชสามารถนำไปใช้ได้ตามต้องการ
|
|
................... |
|
ที่มาของข้อมูล :
หนังสือสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม (เล่ม 1
การศึกษาวิจัยเบื้องต้น)จัดทำโดย สำนักงาน กปร. |
|
|
|
ชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ.
สวนจิตรลดา เขตดุสิต กทม.
โทร. 02-2821850, 02-2820665 หรือ Email
: bio_club@rspg.org
|
|
|
|