การสำรวจคุณภาพดินในสถานีดังกล่าวนี้
ดำเนินการโดยการเก็บตัวอย่างดินตะกอน
โดยใช้ท่อพลาสติกใส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.3 ซม.
เก็บดินเป็นคอลัมน์ทรงกระบอกตามแนวดิ่ง ลึกประมาณ 5-10
ซม. จากการสังเกตพบว่า
คอลัมน์ดินที่ได้จากการสำรวจนี้มีลักษณะองค์ประกออบของเนื้อดินและสีของดินซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น
2 ประเภทใหญ่ คือ
-
ประเภทที่ 1 :
เป็นคอลัมน์ที่ประกอบด้วยดินเลนค่อนข้างเหลว
ซึ่งมีปริมาณน้ำในดินสูง
มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียด
และสีของดินแยกเป็น 2 ชั้นอย่างเด่นชัด
ประกอบด้วยดินสีน้ำตาลอ่อน (oxidizing zone)
อยู่บริเวณผิวหน้าชั้นบนจนถึงความลึกประมาณ 0.5-1
ซม. และดินสีดำสนิทในระดับที่ลึกลงไป (reducing
zone)
ซึ่งมีกลิ่นของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์
-
ประเภทที่ 2 :
เป็นคอลัมน์ที่ประกอบด้วยดินเหนียวที่มีเนื้อแน่น
สีน้ำตาลปนเหลือง ส่วนบนมักมีทรายปะปนอยู่
ส่วนชั้นดินสีดำอาจพบได้บ้างในบริเวณลึก
คอลัมน์ดินตะกอนที่ได้จากการเก็บตัวอย่าง
โดยใช้ท่อพลาสติกใสนี้ ส่วนของหน้าดินที่ระดับความลึก
0-3 ซม.
ได้ถูกแยกออกมาและทำการวิเคราะห์คุณสมบัติทางด้านกายภาพและทางเคมีต่างๆ
ดังแสดงในตารางที่ 4.3 ผลการศึกษาพบว่า
คุณสมบัติดินเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพภายนอกที่ตรวจพบ
ได้แก่ องค์ประกอบของเนื้อดินและสีของดิน กล่าวคือ
ดินที่มีลักษณะเหลวและมีสีดำ (คอลัมน์ประเภทที่ 1)
จะมีปริมาณน้ำในดินอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
(37.89-78.28%) มีปริมาณสารอินทรีย์รวมค่อนข้างสูง
(30.49-91.59 มิลลิกรัม/กรัม (น.น.แห้ง))
ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้พบในสถานที่ a, b, c
และ d
ส่วนดินที่ประกอบด้วยเนื้อดินเหนียวที่มีเนื้อแน่น
(คอลัมน์ประเภทที่ 2) ในถานที่ e
และ f นั้น
จะมีค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำในดิน
ปริมาณสารอินทรีย์รวมในดิน
และปริมาณสารประกอบซัลไฟด์ในดิน เท่ากับ 25.26%
, 28.54 และ 0.006 มิลลิกรัม/กรัม (น.น.แห้ง) ตามลำดับ
ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในระดับต่ำกว่ากลุ่มแรกอย่างเด่นชัด
|
ตารางที่
4.3
องค์ประกอบทางกายภาพและทางเคมีอื่นๆ ของดิน |
การศึกษาคุณภาพดินของสวนป่าชายเลน ศูนย์ฯ ห้วยทราย
พบว่า
ดินตะกอนส่วนผิวบนมีความอุดมสมบูรณ์ในแง่ปริมาณอินทรีย์รวมอยู่ในดรับปานกลางจนถึงระดับค่อนข้างสูง
ซึ่งจัดอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ทำการปลูก
ส่วนดินที่ระดับความลึก 20-30 ซม. นั้น
ยังมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ขาดธาตุอาหารบางตัว
เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม และมีปริมาณอินทรีย์วัตถุโดยเฉลี่ยในระดับต่ำด้วย
ส่วนปริมาณสารประกอบซัลไฟด์ในดินที่พบค่อนข้างสูงในบางสถานีนั้น
อาจก่อให้เกิดสภาวะความเป็นกรดและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบรากตลอดจนการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ได้บ้าง
สำหรับการที่มีการสะสมของธาตุอาหารและโลหะหนักบางชนิดในบริเวณลำคลองโดยรอบนั้น
อาจเกิดเนื่องจากการที่บริเวณนั้นเป็นที่รองรับน้ำเสียจากแหล่งชุมชน
อย่างไรก็ตาม สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ยังไม่สามาถสรุปได้ชัดเจน
เนื่องจากขาดข้อมูลคุณภาพน้ำก่อนที่จะไหลลงสู่พื้นที่สวนป่า
อีกทั้งการศึกษานี้อยู่ในระยะเริ่มแรก ดังนั้น
การศึกษาวิจัยครั้งต่อไปจะดำเนินการวางแผนการเก็บตัวอย่าง
เพื่อให้ได้ข้อมูลเปรียบเทียบทั้งทางด้านอัตราการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์และข้อมูลทางคุณภาพน้ำ
ควบคู่กับการประเมินความเหมาะสมของคุณภาพดินและการศึกษาอิทธิพลของการปลูกป่าชายเลนต่อระบบนิเวศน์ของดินตะกอนในบริเวณดังกล่าวด้วย
|
|
นักวิชาการเก็บตัวอย่างดินในป่าจาก |