คำนำ I ประวัติความเป็นมา I ป่าชายเลนจังหวัดเพชรบุรี I พันธุ์ไม้ที่ปลูก I คุณภาพดิน I คุณภาพน้ำ I ชนิดของสัตว์ I สาหร่ายและหญ้าทะเล

 
  ประวัติความเป็นมา :

        "สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม"  ตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางกราน้อย - คลองบางกราใหญ่ ซึ่งเป็นคลอธรรมชาติ เชื่อมต่อระหว่างทะเลด้านอ่าวไทยฝั่งตะวันตก กับพื้นที่ป่าบริเวณเทือกเขาต่างๆ อันเป็นแหล่งต้นน้ำของห้วยตะแปด พื้นที่ลุ่มน้ำคลองบางกราน้อย - บางกราใหญ่ ตั้งแต่บริเวณต้นลำน้ำห้วยตะแปด จนถึงปากคลองนี้ เกือบทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้เป็นที่อภัยทานแก่สัตว์จตุบททวิบาท เมื่อปี พ.ศ.2467
          คลองบางกราน้อย - บางกราใหญ่ รับน้ำจืดจากห้วยใหญ่ที่เกิดจากต้นน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขา ได้แก่ เขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ เขาพุหวาย เขาเสวยกะปิ เขาน้อย และเขาทอง โดยน้ำจะไหลจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ลงสู่คลองบางกราน้อย - คลองบางกราใหญ่ แล้วไหลลงทะเลอย่างต่อเนื่อง ตามสภาวะปัจจัยสิ่งแวดล้อมดังกล่าวทำให้เกิดป่าชายเลนขึ้นตามธรรมชาติ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ เช่น แสม โกงกาง พังกาหัวสุม โปรงแดง ถั่วขาว ขึ้นอยู่หนาแน่น ในอดีต ชาวประมงหลบลมพายุในฤดูมรสุม นอกจากนี้ยงได้รับประโยชน์จากป่าชายเลนโดยตรงจากการทำหน้าที่เป็นแหล่งวางไข่และนุบาลลูกอ่อนสัตว์น้ำในพื้นที่ป่าชายเลนแห่งนี้

   

สภาพป่าชายเลนธรรมชาติคลองบางกราใหญ่
ที่เสื่อมโทรมลงไปมากในปัจจุบัน


น้ำทะเลพัดทรายปิดปากคลองทำให้การหมุนเวียนของ
น้ำทะเลไหลเข้าออกได้ไม่สะดวก และเสียหายต่อสมดุล
ของระบบนิเวศน์ป่าชายเลน

 
   

          เดิมพื้นที่แห่งนี้มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ต่อมาราษฎรได้เข้ามาอาศัยทำกินบุกรุกแผ้วถางป่าประกอบอาชีพทางเกษตร ในห้วงเวลาไม่ถึง 40 ปี ป่าไม้ได้ถูกทำลายโดยสิ้นเชิง ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลและมีปริมาณลดน้อยลง จนมีลักษณะเป็นพื้นที่อับฝน ดินขาดการบำรุงรักษาจนเกิดความไม่สมดุลทางธรรมชาติ การพังทลายของดินค่อนข้างสูง และจากการที่สภาพระบบนิเวศน์ป่าไม้บริเวณต้นน้ำถูกทำลาย ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่คลองทั้งสองมีปริมาณน้อยลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อป่าชายเลนในพื้นที่นี้ด้วย นอกจากนี้สภาพป่าชายเลนยังเสื่อมโทรมลงจากสาเหตุหลายประการ เช่น การสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ขวางทางลำน้ำห้วยใหญ่ สิ่งโสโครกจากชุมชนไหลลงคลองบางกราน้อย น้ำทะเลพัดทรายปิดปากคลอง ทำให้น้ำทะเลไหลเข้าออกได้ไม่สะดวก ทำให้น้ำทะเลไหลเข้าออกได้ไม่สะดวก ทำให้ลำคลองตื้นเขินและเสียความสมดุลของระบบนิเวศน์
พระราชดำริ

   

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกป่าโกงกางใบใหญ่ ที่บริเวณคลองบางกราใหญ่ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537

เสด็จพระราชดำเนินลุยเลนปลูกโกงกางใบใหญ่ ที่บริเวณคลองบางกราน้อย

   
ทรงปลูกต้นจากที่บริเวณคลองบางกราน้อย

 


เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการทดลองปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในกะละมังพลาสติกในสภาพดิน - น้ำที่แตกต่างกัน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538


          เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริ กับ นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน มีใจความโดยสรุปคือ " ให้จัดการพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อทดลองปลูกและฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน เพื่อให้นิเวศน์วิทยาป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกป่าไม้ชายเลนชนิดต่างๆ ที่บริเวณปากคลองบางกราน้อยและคลองบางกราใหญ่ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม ให้ดำเนินการศึกษาหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ชายเลนที่ปลูกนี้ให้อยู่รอด และดำเนินการปลูกเพิ่มเติมต่อไป"

   

เจ้าชายอากิชิโน และพระชายาแห่งญี่ปุ่น เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรและรับฟังการบรรยายสรุปการปลูกป่าชายเลนบริเวณสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม


เจ้าชายอากิชิโนและพระชายา ทรงสนพระทัยการทดลองปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในกะละมังพลาสติกในสภาพดิน-น้ำที่แตกต่างกัน
 

การปลูกป่าชยเลนคลองบางกราน้อย - คลองบางกราใหญ่
          สภาพเดิมคลองบางกราน้อยมีป่าชายเลนขึ้นอยู่ประมาณ 22.08 ไร่ คลองบางกราใหญ่ประมาณ 11.88 ไร่ มีพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่หนาแน่น แต่ปัจจุบันมีสภาพเสื่อมโทรมลงจนเกือบหมดสภาพป่าธรรมชาติ
          การดำเนินการปลูกป่าชายเลนบริเวณคลองบางกราน้อย - บางกราใหญ่ ได้คำนึงถึงระบบนิเวสน์ของป่าชายเลนเพื่อให้พันธุ์ไม้ได้รับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมตรงกับความต้องการและลักษณะประจำของพืชนั้น โดยอาศัยเทคโนโลยีประกอบกับพื้นฐานด้านนิเวศวิทยา ใช้กล้าไม้ที่มีอยู่ดิมตามธรราชาติ ได้แก่ แสม โกงกาง พังกาหัวสุม โปรงแดง ถั่วขาว และไม้อื่นๆ ที่ไม่มีในพื้นที่เดิม ได้แก่ จาก ตะบูน

 
...................  
ที่มาของข้อมูล : หนังสือสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม (เล่ม 1 การศึกษาวิจัยเบื้องต้น)จัดทำโดย สำนักงาน กปร.  

 

ชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ.  สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ. สวนจิตรลดา เขตดุสิต กทม.
โทร. 02-2821850, 02-2820665  หรือ  Email :
bio_club@rspg.org