ชมพูภูพาน
ชื่อพฤกษศาสตร์: Wightia speciosissima
(D.Don) Merr.
วงศ์ : SCROPHULARIACEAE
ชื่ออื่น : ชมพูพาน ตุมกาแดง
ไม้ต้นกึ่งอิงอาศัย
ขึ้นได้เองตามซอกหินที่มีดินสะสม
ลำต้นจะแคระแกร็น แตกกิ่งต่ำระเกะระกะ
หรือขึ้นตามคาคบของต้นไม้ใหญ่
ต่อมาเมื่อรากเจริญลงสู่พื้นดินได้แล้ว
ลำต้นจึงเจริญเติบโตใหญ่ขึ้นโอบรัดต้นเดิม
ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปไข่กว้าง แผ่นใบหนา
ผิวด้านบนเป็นมัน ดอกออกบนช่อแตกแขนงสั้นๆ
ตามปลายกิ่ง ขณะออกดอกจะทิ้งใบจนหมดต้น
กลีบดอกสีชมพูม่วง ติดกันเป็นรูปแตร
โค้งตอนปลาย เกสรเพศผู้มี 1 คู่ยาว 1 คู่สั้น
ผลแห้ง ทรงกระบอก ปลายและโคนแหลม แตกออกเป็น 2
ซีก
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด :
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้
ต่างประเทศพบที่ เนปาล อินเดีย (สิกขิม) ภูฎาน
พม่า จีน (ยูนนาน) และเวียตนาม
ชอบขึ้นบนพื้นที่มีอากาศเย็นตลอดปี
บนภูเขาในป่าดิบเขาโปร่ง ที่ระดับความสูง
1,100 - 2,300 เมตร
สถานภาพ : พืชหายาก
|