ทิพเกสร
ชื่อพฤกษศาสตร์: Utricularia minutissima
Vahl
วงศ์ : LENTIBULARIACEAE
ชื่ออื่น : หญ้าฝอยเล็ก
ไม้ล้มลุก เจริญเพียงฤดูเดียว
ประเภทพืชจับแมลง มีขนาดเล็กกว่าดุสิตา
ลำต้นใต้ดินแตกแขนงเป็นฝอยเล็กๆ คล้ายราก
มีกระเปาะกลมขนาดเล็กมากตามข้อของไหล
ช่อดอกออกเดี่ยว แม่แตกแขนง ตั้งตรง ยาว 5-15
เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ ดอกจำนวน 2-15
เรียงไม่เป็นระเบียบบนช่อดอก ก้านดอกยาว 1
มิลลิเมตร กลีบดอกติดกันเป็นรูปปากเปิด
สีชมพูอมม่วง สีม่วงอ่อน หรือสีขาวอมชมพู
กลีบล่างมีจงอยเหยียดตรงไปด้านหน้า ผลแห้ง
รูปรี แบน แตกตามยาว
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด : ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของไทย
ต่างประเทศพบที่อินเดีย จีน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงญี่ปุ่นและออสเดรเลีย
ขึ้นเป็นกลุ่มบนพื้นที่ชื้นแฉะตามแอ่งภูเขาหินทรายที่มีน้ำไหลริน
ในช่วงฤดูฝน ระดับความสูง 50-1,500 เมตร
ออกดอกและผลเดือน พฤจิกายน - ธันวาคม
สถานภาพ : พืชหายาก มีเขตกระจายพันธุ์กว้าง
แต่เป็นพืชฤดูเดียวที่ต้องอาศัยระบบนิเวศที่เปราะบางของพื้นที่ชื้นแฉะตามฤดูกาล
ประชากรจึงมีจำนวนน้อยลงทุกี
เนื่องจากถิ่นอาศัยถูกทำลายหรือเปลี่ยนสภาพ
|