สร้อยสุวรรณา
ชื่อพฤกษศาสตร์: Utricularia bifida
L.
วงศ์ : LENTIBULARIACEAE
ชื่ออื่น : หญ้าสีทอง เหลืองพิศมร
สาหร่ายดอกเหลือง
ไม้ล้มลุก เจริญเพียงฤดูเดียว
มีไหลเป็นเส้นฝอยขนาดเล็กคล้ายราก
มีอวัยวะจับแมลงตามข้อของไหลเป็นกระเปาะกลม
ขนาดเล็กมาก ช่อดอกออกเดี่ยว ไม่แตกแขนง
ตั้งตรง ยาว 10-23 เซนติเมตร มี 3-8 ดอก
ก้านดอกยาว 3-5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 2 กลีบ
รูปไข่ แยกจกกัน กลีบดอกสีเหลือง
ติดกันเป็นรูปปากเป็ด กลีบบนรูปไข่กลับ
กลีบล่างรูปกลมหรือรูปไข่
ตรงกลางนูนขึ้นเป็นถุง
จงอยตรงหรือโค้งไปด้านหน้าเล็กน้อย ผลแบน
รูปรีแกมรูปไข่ อยุ่ภายในกลีบเลี้ยงที่ติดทน
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด :
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของไทย
ต่างประเทศพบที่ อินเดีย ศรีลังกา
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลย
เป็นพืชที่ขึ้นอยู่บนพื้นที่ชื้นแฉะ
มีน้ำหล่อในชั้นดินแต่ไม่ถึงกับท่วม
พบเป็นกลุ่มใหญ่ตามแอ่งภูเขาหินทรายที่มีน้ำไหลรินในช่วงฤดูฝน
ระดับความสูง 50-1,200 เมตร ออกดอกและผลเดือน
พฤศจิกายน - ธันวาคม
สถานภาพ : พืชหายาก
ถึงแม้ว่าจะมีเขตกระจายพันธุ์ที่กว้าง
แต่เนื่องจากเป็นพืชฤดูเดียวที่ต้องอาศัยระบบนิเวศที่เปราะบางของพื้นที่ชื้นแฉะตามฤดูกาล
ประชากรจึงมีจำนวนลดน้อยลงทุกปี
เนื่องจากถิ่นอาศัยถูกทำลายหรือเปลี่ยนสภาพ
|