BACK     ชื่อท้องถิ่น     ชื่อวิทยาศาสตร์  :  A   B   C   D   E   F   G   H   I   J   K   L   M   N   O   P   Q   R   S   T   U   V   W   X   Y   Z


 

ชื่อวิทยาศาสตร์ - S

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตะเคียนเต็ง

ชื่อพฤกษศาสตร์: Shorea thorelii  Pierre

วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น : ชัน ชันตก เต็งตานี ยางแกน ยางหมอก ยางหยวก ยางหิ้ง

ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงถึง 30 เมตร กิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกมีขนนุ่ม ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักมีพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอมแดง แตกเป็นสะเก็ดห้อยย้อยลง หูใบโค้งเป็นรูปเคียว ร่วงง่าย ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนใบมน ด้านบนสีน้ำตาลแดงเมื่อแห้ง ดอก เล็ก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามง่าม ใบและปลายกิ่ง ผล รูปไข่ ปลายแหลม มีขนนุ่ม มีปีกใหญ่และยาว 3 ปีก ปีกเล็กและสั้น 2 ปีก

เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ต่างประเทศพบที่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียตนาม ขึ้นในป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำ ที่ระดับความสูง 300 - 850 เมตร ออกดอกและผลเดือน มกราคม - พฤษภาคม

สถานภาพ : พืชหายาก