ชมพูเชียงดาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Pedicularis siamensis
Tsoong
วงศ์ : SCROPHULARIACEAE
ไม้ล้มลุก ประเภทพืชเบียนของพืชจำพวกหญ้า สูง
40-60 เซนติเมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่
หรือเป็นวงรอบต้น แผ่นใบคล้ายใบเฟิร์น
รูปขอบขนานแกมรูปไข่
มีหย้กเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ขอบใบจักถี่
ผิวใบด้านบนมีประขาว ด้านล่างเป็นนวลแป้งขาว
ก้านใบสั้น ดอก สีชมพูแกมม่วง
ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ไม่มีก้านดอก
กลีบรองดอกติดกันเป็นถ้วย
กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาว
ตอนปลายเป็นจงอยโค้งแหลม
กลีบล่างแผ่กว้างแยกเป็น 3 แฉก แผ่นกลางกลมมน
แผ่นข้างรูปรี ผล เป้นกระเปาะ แข็ง รูปไข่
มีกลีบรองดอกหุ้มตอนปลายเป็นหยักแหลม
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา :
พบเฉพาะภาคเหนือของไทย (จังหวัดเชียงใหม่)
ขึ้นเป็นกลุ่มแทรกปะปนกับกอหญ้าและไม้พุ่มเตี้ยๆ
ที่ระดับความสูง 1,800 - 2,100 เมตร
สถานภาพ : พืชถิ่นเดียวและพืชหายาก
|