รองเท้านารีเหลืองปราจีน
ชื่อพฤกษศาสตร์: Paphiopedilum concolor
(Batem.) Pfitz.
วงศ์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : เหลืองปราจีน
กล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้นแตกกอ ใบเดี่ยว
ออกทแยงกัน 4-6 ใบ รูปขอบขนาน
ตรงกลางเป็นร่องยาวแบบรางน้ำ
ผิวใบด้านบนสีเขียว มีลายสีครีมทั่วไป
ด้านล่างมีสีม่วง ดอกใหญ่ บานเต็มที่กว้าง 5-6
เซนติเมตร ออกเป็นช่อที่ปลาย 1-3 ดอก
ก้านช่อตั้งตรงจากแกนลำต้น ยาว 10-14
เซนติเมตร
กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองเข้ม
มีประจุดสีเหลือดหมูกระจายทั่วกลีบ
แผ่นกลีบมีขนละเอียดปกคลุม
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด : ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
และภาคใต้ตอนบนของไทย ต่างประเทศพบที่พม่า ลาว
เวียตนาม และกัมพูชา
ขึ้นตามป่าโปร่งหรือป่าละเมาะบนภูเขาหินปูน
ออกดอกเกือบตลอดปี
สถานภาพ : พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์
|