หงอนไก่ใบเล็ก
ชื่อพฤกษศาสตร์: Heritiera fomes
Buch.- Ham.
วงศ์ : STERCULIACEAE
ชื่ออื่น : ดุหุนใบเล็ก
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 เมตร
โคนต้นมีพูพอนขนาดใหญ่ คล้ายแผ่นกระดาน
รอบโคนต้นมีรากหายใจคล้ายรูปหมุดจำนวนมาก
ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มปลายกิ่ง
รูปใบหอกหรือรูปรี ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
ด้านล่างมีเกล็ดสีเงินอมเทาปกคลุม ดอกเล็กมาก
แยกเพศ ออกเป็นช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามซอกใบ
มีขนหนาแน่น ผลรูปไข่ ด้านล่างแบน
ด้านหลังโค้งงอมีสันเป็นครีบยาวแผ่กว้างไปทางปลายผล
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด :
พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ในจังหวัดระนอง
และตรัง ต่างประเทศพบที่อินเดีย
(หมู่เกาะอันดามัน) และพม่าฝั่งทะเลอันดามัน
ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่บริเวณปากแม่น้ำละอุ่น
จังหวัดระนอง
บนดินเลนแข็งในแนวเขตป่าชายเลนด้านหลังติดต่อกับป่าบก
มักเป็นป่าชายเลนที่มีมูลดินของแม่หอบ (mud
lobster's mounds area) กระจายไปทั่ว
ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน
ผลแก่เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
สถานภาพ : พืชหายาก
|