นางเลว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Cyathocalyx martabanicus
Hook.f. & Thomson
var. harmandii Finet & Gagnep.
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กล้วย เต็งหิน สะบันงาดง สาแหรก
แสลง อีเลว
ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร
เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ แตกกิ่งขนานพื้นดิน
เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นฉุน
โคนต้นเป็นพูตามยาว ใบ
เดี่ยวเรียงเวียนสลับสองข้างกิ่งในระนาบเดียวกันรูปรี
ปลายใบแหลม โคนรูปลิ่ม ดอก ออกเป็นกระจุก 2-3
ดอก ตรงข้าใบ เรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ
รูปขอบขนาน สีเหลืองอมเขียว ผล รูปกลมรี
เมื่อสุกสีม่วงแดง เปลือกหนาแข็ง ผิวเรียบ
เมล็ดรูปกลมแบน
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงใต้
และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย
ต่างประเทศพบที่มาเลเซีย
ขึ้นในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น
ที่ระดับความสูง 10-400 เมตร
ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
ผลแก่เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
สถานภาพ : พืชหายาก
|