ชมพูภูคา
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bretschneidera sinensis Hemsl.
วงศ์ : BRETSCHNEIDERACEAE
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 15-25 เมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวเรียงเวียนสลับ ใยย่อยไม่มีก้านใบ รูปหอกถึงรูปไข่ โคนใบมนมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายแหลม ดอกสีชมพู คล้ายรูประฆัง ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายกิ่ง กลีบรองดอกขนาดใหญ่ ติดกันเป็นรูปถ้วย ขอบจักตื้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง โคนกลีบเรียวเป็นก้านกลีบดอก ปลายกลีบม้วนออกด้านนอก กลีบบนมักคว่ำลง ผล รูปไข่กลับ แก่แล้วแตก เมล็ดรูปรี
เขตกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ดอยภูคา จังหวัดน่าน ต่างประเทศ พบที่จีนภาคใต้และเวียตนาม ขึ้นในป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นและมีอากาศเย็นตลอดปี ที่ระดับความสูง 1,500 - 1,700 เมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
สถานภาพ : พืชหายาก