BACK     ชื่อท้องถิ่น     ชื่อวิทยาศาสตร์  :  A   B   C   D   E   F   G   H   I   J   K   L   M   N   O   P   Q   R   S   T   U   V   W   X   Y   Z


 

ชื่อวิทยาศาสตร์ - B

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


สรัสจันทร

ชื่อพฤกษศาสตร์: Burmannia coelestis D.Don

วงศ์ : BURMANNIACEAE

ชื่ออื่น : กล้วยมือนาง ดอกดิน หญ้าหนวดเสือ

ไม้ล้มลุก ลำต้นสั้นมาก ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่เป็นรัศมีรอบโคนต้น แผ่นใบแคบ ปลายเรียวโค้ง ดอกสีฟ้า สีฟ้าแกมม่วงหรือม่วงอมชมพู ออกเป็นช่อ 1-3 ดอก ที่ปลายก้านช่อดอกช่อตั้งตรง ยาว 10-30 เซนติเมตร กลีบรวมติดกันเป็นหลอดยาว ตรงกลางแผ่ออกเป็น 3 ครีบ เกสรเพศผู้ 3 อัน ไม่ปรากฏก้านเกสรชัดเจน อับเรณูสีเหลืองติดตรงปากหลอดของกลีบรวม ผลเล็ก รูปไข่กลับ

เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด :  พบทั่วทุกภาคของไทย ต่างประเทศพบตั้งหมู่เกาะมอริเซียส จีน ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย (ภาคเหนือ) ชอบขึ้นเป็นกลุ่มๆ บนซากพืชที่เน่าเปื่อย บนพื้นที่ชื้นแฉะ โดยเฉพาะตามแอ่งของลานหินทราย ระดับความสูง 20-1,500 เมตร ออกดอกเดือน ตุลาคม-ธันวาคม

สถานภาพ : พืชหายาก (ในประเทศไทย) เนื่องจากต้องอาศัยระบบนิเวศที่เปราะบางของพื้นที่ชื้นแฉะตามฤดูกาล ถิ่นกำเนิดมักจะถูกทำลายหรือเปลี่ยนสภาพ ประชากรจึงมีจำนวนลดน้อยลงทุกปี