ยางยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Dipterocarpus grandiflorus
(Blanco)Blanco.
วงศ์ :
DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
ยางตัน ยางยูง ยูง ( ภาคใต้ )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูงถึง 45 เมตร
ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบแต่ผลิใบใหม่ไว ลำต้นเปลาตรง
เปลือกหนา เรียบหรือแตกเป็นแผ่นโต ๆ ห้อยลง
สีเทาหรือเหลืองอ่อน เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง
กิ่งอ่อนเกลี้ยง หรือมีขนสีน้ำตาลอมแดง ใบ เดี่ยว
รูปไข่ ปลายใบทู่ โคนใบมนกว้าง
หรือหยักเว้าเข้าเล็กน้อย แผ่นใบหนา เกลี้ยง
ก้านใบยาวและงอเป็นข้อศอกเล็กน้อย ดอก สีชมพู
ออกรวมเป็นช่อยาวเหนือรอยแผลใบหรือตามง่ามใบ
โคนกลีบเลี้ยงเป็นครีบยาว 5 ครีบ
ส่วนโคนกลีบดอกเกยซ้อนเวียนกันเป็นรูปกังหัน ผล รูปรี
ยาวถึง 8 ซม. มีครีบยาวตามยาวผล 5 ครีบ ปีกคู่ยาว
ยาวถึง 22 ซม. ทรงรูปหอกกลับแกมรูปซ้อน ส่วนกลีบสั้น 3
กลีบ ยาวไม่เกิน 2 ซม. ตามธรรมชาติ
จะพบตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้และเคยมีรายงานว่าพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้าง
ออกดอกเป็นผลระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน
การขยายพันธุ์นิยมใช้เมล็ดเพาะ
การปลูกควรปลูกในที่ชุ่มชื้นและมีร่วมเงาพอควร
ประโยชน์ :
มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ
ยางนา (
Dipterocarpus alatus
Roxb. ex G.Don )
|