โมง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Canarium strictum Roxb.
วงศ์ :
BURSERACEAE
ชื่อสามัญ
: Black Dammar
ชื่ออื่น :
โมง (ละว้า-ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
โมงเป็นไม้ต้น สูง 20–40 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกบาง
สีเทาอมเขียว แตกเป็นร่องตื้น ยอดอ่อนสีแดงเด่นชัด
หูใบรูปลิ่มแคบ หลุดร่วงง่าย ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่
มีใบย่อย 3–5 คู่ เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบย่อยรูปไข่
หรือรูปรี กว้าง 4–10 ซม. ยาว 10–20 ซม.
ปลายเรียวแหลมค่อนข้างยาว โคนเบี้ยว รูปหัวใจ รูปกลม
ถึงรูปลิ่มกว้าง ขอบค่อนข้างเรียบ
ผิวด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง
ด้านล่างมีขนสั้นหนานุ่มสีน้ำตาลเข้ม
ปลายเส้นแขนงใบย่อยโค้งจรดกันก่อนถึงขอบใบ ดอก เล็ก
สีขาวครีม แยกเพศ ออกเป็นช่อแยกแขนงตามง่ามใบ
หรือเกือบปลายกิ่ง ผล รูปรี กว้าง 1–1.5 ซม. ยาว 2–2.5
ซม. ผิวเกลี้ยง สุกสีเขียวอมเหลือง มี 1 เมล็ด
รูปรีเป็นสันเหลี่ยมสามมุม เปลือกแข็ง ผิวเกลี้ยง
โมงมีการกระจายพันธุ์ตามสันเขาในป่าดิบเขาทางภาคเหนือตอนบน
ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,100–1,500 ม.
ในต่างประเทศพบที่อินเดีย และทางตอนเหนือของพม่า
ออกดอกเดือนธันวาคม–กรกฎาคม ผลแก่เดือนกันยายน–มีนาคม
ประโยชน์ :
เนื้อไม้อ่อน
ชันสีดำมีชื่อทางการค้าว่า Black Dammar
ใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร
และใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบเงาในต่างประเทศ
ใบเลี้ยงในผลแก่กินได้
|