แก้วเจ้าจอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Guaiacum officinale
L.
วงศ์ :
ZYGOPHYLLACEAE
ชื่อสามัญ
: Lignum Vitae
ชื่ออื่น :
กณิการ์ , กรณิการ์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้นสูง
10-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาเข้ม กิ่งมีข้อพองเป็นปุ่มๆ
ทั่วไป กิ่งอ่อนค่อนข้างแบน ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่
มีใบย่อย 2-3 คู่ เรียงตรงข้ามแกนกลาง ใบประกอบยาว
1-1.5 ซม. ก้านใบประกอบยาว 0.5-1 ซม. ใบย่อยไม่มีก้าน
รูปไข่กลับ รูปไข่กว้าง หรือรูปรีเบี้ยวเล็กน้อย
ใบย่อยคู่ปลายกว้าง 1.8-2 ซม. ยาว 3.2-3.5 ซม.
ใบย่อยคู่ที่อยู่ตอนโคนกว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 2.5-2.7
ซม. ปลายมน โคนสอบขอบเรียบ
แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า
มีจุดสีส้มที่โคนใบย่อยด้านบนหูใบและใบประดับเล็ก
ร่วงง่าย ดอก ออกเป็นกระจุกที่ยอด 3-4 ดอก
สีฟ้าอมม่วงและซีดเมื่อตอนใกล้โรย ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม.
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ โคนติดกันเล็กน้อย ร่วงง่าย
มีขนประปราย กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีหรือรูปไข่
กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน
แยกกัน เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล แห้งแตก
รูปหัวใจกลับ มีครีบ 2 ข้าง สีเหลืองหรือสีส้ม
กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. ก้านผลยาว
1.5-3 ซม. มี 1-2 เมล็ด เมล็ดรูปรี สีน้ำตาล
แก้วเจ้าจอมมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และหมู่เกาะเวสต์อินดีส
นำมาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
ประโยชน์ :
เป็นไม้ประดับ
แก่นไม้สีน้ำตาลถึงดำ แข็งมาก เป็นมันและหนักมาก
ทนต่อแรงอัดและน้ำเค็ม
จึงนิยมนำมาใช้ทำกรอบประกับเพลาเรือเดินทะเลา
หรือกรอบประกับเพลาเครื่องจักรโรงงานต่างๆ ทำรอก
ด้ามสิ่วและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการความแข็งแรงมากๆ
ยางไม้ใช้เป็นยาขับเสมหะ ยาระบาย ขับเหงื่อ
แก้ข้ออักเสบ ใช้ร่วมในยาฟอกเลือด ทำเป็นยาอม
แก้ต่อมทอนซิลและหลอดลมอักเสบ ละลายในเหล้ารัม
และเติมน้ำเล็กน้อยใช้อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ
กินแก้ปวดท้อง และใช้ใส่แผล
น้ำคั้นจากใบกินแก้อาการท้องเฟ้อ
เปลือกและดอกเป็นยาระบาย
นอกจากนี้ยาชงจากดอกเป็นยาบำรุงกำลังอีกด้วย
ที่มาของข้อมูล :
อนุกรมวิธานพืชอักษร ก.
ฉบับราชบัณฑิตสถาน
|