แคฝอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Stereospermum fimbriatum (Wall. ex
G.Don)
A.DC.
วงศ์ :
BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ
: Snake Tree
ชื่ออื่น :
แคทราย
(เชียงใหม่) แคฝอย (กระบี่,ภาคเหนือ,ปัตตานี)
แคยอดดำ (สุราษฎร์ธานี) จีจา (มลายู-นราธิวาส)
จีจา (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่ สูง
15-25 เมตร ลำต้นเปลา ตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลแดง
กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนซึ่งมีต่อมน้ำมัน (grandular)
อยู่ตรงปลายปกคลุมหนาแน่น ใบ
รูปหอกหรือไข่แกมรูปหอก หรือบรรทัดแกมรูปหอก ขนาด 6-13
x
2.5-5.3 ซม. ปลายใบยาวเรียว
ฐานใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ
ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลเหลืองคลุมหนาแน่นทั้งสองด้าน
และขนด้านหลังใบจะหลุดร่วงไปบ้างเมื่อใบมีอายุมากขึ้น
ช่อดอก มีขนสีน้ำตาลเหลืองคลุมหนาแน่น
กลีบรองดอกเป็นรูปท่อแคบๆ หรือรูปทรงกระบอก ยาว 1-1.7
ซม. ตรงส่วนปลายสุดยอดแยกออกเป็น 5 แฉก (lobes)
สั้นๆ กลีบดอกเป็นรูปแจกัน ยาว
4-5.5 ซม. ขอบของกลีบดอกจักถี่ไม่เป็นระเบียบ (fimbriate)
เกสรผู้เรียบ เกลี้ยง
รังไข่มีขนคลุมหนาแน่น ฝัก ทรงกระบอก ยาวและเรียว
มักจะบิดงอเมื่อฝักแก่ ขนาดยาถึง 60 ซม.
และขนาดวัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-10 มม.
มีสันนูนเล็กน้อยตามส่วนยาวของฝัก 4 สัน
มีขนปกคลุมประปราย เมล็ด มีขนาด (รวมททั้งปีก) 1.8-2.1
x
0.8-1.9 ซม. ระยะการเป็นดอกผล
เริ่มผลิช่อดอกตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม เป็นต้นไป
จนถึงเดือนมีนาคม
และจะติดฝักประมาณเดือนเมษายน-มิถุนายน นิเวศวิทยา
ชอบขึ้นในป่าดิบชื้น ที่ราบทางภาคใต้
และป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ
ประโยชน์ :
เนื้อไม้ค่อนข้างแข็ง เหมาะใช้ทำฟืน
ฝากระดาน ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ |