แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Murraya paniculata
วงศ์ :
RUTACEAE
ชื่อสามัญ
: Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange
jasmine
ชื่ออื่น : กะมูนิง
(มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา)
แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก
(ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10
เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม
และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว
ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่
ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด
กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว
ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ
อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น
มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผล
ประโยชน์ :
ใบสดที่โตเต็มที่ รสปร่า หอม
ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดฟัน
เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยที่ออกฤทธิ์เป็นยาชา
วิธีใช้คือ นำใบสด 15 ใบย่อย หรือน้ำหนัก 1 กรัม
ตำพอแหลกแช่ในเหล้าโรง 4 ช้อนชา หรือ 16 มิลลิลิตร
ทิ้งไว้ 3-5 นาที ใช้น้ำยาทาบริเวณที่ฟันปวด
|