สำมะงา
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Clerodendrum inerme
(L.) Gaertn.
วงศ์ :
LABIATAE
ชื่อสามัญ
: Garden Quinine
ชื่ออื่น : เขี้ยวงู
(ประจวบคีรีขันธ์) ส้มเนรา (ระนอง) สักขรีย่าน
(ชุมพร) สำปันงา (สตูล) สำมะลีงา สำลีงา (ภาคกลาง
,ภาคตะวันออก) คากี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่มรอเลื้อย
แตกกิ่งระเกะระกะ ขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามเนินทรายเก่า ใบ
สีเขียวเข้ม หนา ดอกคล้ายดอกเข็ม
กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาว ผลรูปไข่และมีร่อง
ประโยชน์ :
ใบมีสารรสขมละลายน้ำได้ เป็นพวกแอลคาลอยด์ 6 ชนิด มี
4-methylscutellarein และ pectoringenin, cholesterol,
steroid มีน้ำมันที่มี unsaponified matter ประกอบด้วย
higher fatty alcohol อื่น ๆ เถ้าจากใบมีเกลือแกง 24%
ใบสด - รักษาโรคผิวหนัง บรรเทาอาการบวม
ฟกช้ำจากการหกล้มหรือกระทบกระแทก เอวเคล็ด
ใช้ใบสดตำผสมเหล้า แล้วอุ่นใช่ไฟอ่อนๆ
ทาถูบริเวณที่มีอาการ แก้ฝี ผิวหนังมีผื่นคัน
มีน้ำเหลือง
ใช้ใบต้มเคี่ยวเอาน้ำชะล้างบริเวณที่มีอาการ
แก้โรคผิวหนังผื่นคัน โดยต้มน้ำอาบ
|