มะตูม
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Aegle marmelos
(L.) Correa ex Roxb.
วงศ์ :
RUTACEAE
ชื่อสามัญ
: Beal fruit tree, Bengal quince, Bilak
ชื่ออื่น : กะทันตาเถร
ตุ่มตัง ตูม (ปัตตานี) พะโนงค์ (เขมร) มะปิน
(ภาคเหนือ) มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-13 เมตร
เรือนยอดรูปไข่ค่อนข้างทึบ
โดคนต้นและกิ่งก้านมีหนามยาวแข็ง
เหลือกสีจ้ำตาลอ่อนหรือสีเทาอมขาว
แตกเป็นแผ่นห้อยย้อยลง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่
เรียงสลับ ยาว 10-20 ซม. ใบย่อย 3 ใบ 2
ใบล่างมีขนาดเล็กและออกตรงข้าม ส่วนใบปลายมีขนาดใหญ่
ใบรูปไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-14 ซม. ปลายใบแหลม
โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบหรือหยักมน
ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นแขนงใบข้างละ 6-10
เส้น ก้านใบย่อยยาว 0.5-3 ซม. ดอก
สีขาวอมเขียวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม
ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง
มะตูมขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
มะตูมเป็นไม้ปลูกกลางแจ้งและทนต่อความร้อนได้ดี
ประโยชน์ :
ผลดิบฝานทำให้แห้ง
คั่ว ใช้ชงน้ำดื่ม แก้อาการท้องเสีย แก้บิด
ผลสุกเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยย่อย ใบสดคั้นน้ำกิน
ลดอาการหลอดลมอักเสบ เปลือกรากและเปลือกต้น
รักษาไข้มาเลเรีย
ใบสดเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์
ช้ในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จะพระราชทานใบมะตูมสดแก่คู่บ่าวสาวในสมรสพระราชทานหรือพระราชทานแก่นักเรียนทุนอานันทมหิดล
ที่กราบบังคมทูลลาไปศึกษาต่อ เป็นต้น ใบสด
ใช้ตำใส่แกงบวน ผลดิบใช้เชื่อม
ผลสุกเป็นผลไม้และใช้ทำน้ำปานะ
ยางจากผลดิบผสมสีทากระดาษใช้แทนก
|