เพกา
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Oroxylum indicum (L.) Kurz
วงศ์ :
BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ
: Broken Bones Tree
ชื่ออื่น :
กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโก
(มลายู-นราธิวาส) มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้
(ภาคเหนือ) ลิ้นฟ้า หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง
(ฉาน-เหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 5-12 เมตร เนื้ออ่อน
แตกกิ่งก้านน้อย ใบ
เป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้นขนาดใหญ่
เรียงตรงข้ามแน่นบริเวณปลายกิ่ง
ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-5 ซม. ยาว 6-12
ซม. ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดเป็นกลุ่ม
ก้านช่อดอกยาว ตั้งดอกย่อยมีขนาดใหญ่ ขนาดผ่าศูนย์กลาง
6-9 ซม. กลีบดอกสีเหลืองนวลหรือแกมเขียว
ส่วนโคนกลีบมีสีม่วงแดง หนา ย่น
ดอกจะบานกลางคืนหรือรุ่งเช้า ผล
เป็นฝักรูปดาบแบนขนาดใหญ่ กว้าง 8-12 ซม. ยาว 40-60
ซม. สีน้ำตาล เมื่อแก่จะแตกตามยาว ภายในมีเมล็ดแบน
สีขาว มีปีกบาง
เพกาในประเทศไทยมีการกระจายพบขึ้นได้ทั่วไปบริเวณชายป่าดิบ
ที่โล่งและไร่ร้าง ที่ระดับต่ำจนถึงความสูง 800 เมตร
ประโยชน์ :
ผลอ่อนใช้เป็นอาหารได้ ตำรายาไทย ใช้
ราก เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง เมล็ดเป็นยาระบาย
ยาจีนใช้เมล็ดเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ
|