เล็บมือนาง
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Quisqualis indica         L.
วงศ์ :  COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ : Drunen sailor, Rangoon ceeper
ชื่ออื่น จะมั่ง จ๊ามั่ง (ภาคเหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  อะดอนิ่ง (มลายู-ยะลา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้พุ่มเลื้อยที่เติบโตเร็ว ส่วนที่อ่อนมีขนสั้นหนานุ่ม สีสนิม ใบเดี่ยวติดตรงข้าม หรือบางส่วนสลับ หรือเวียนสลับเป็นวงรอบ ใบรูปหอกขอบขนานหรือรูปรี ขนาดกว้าง 5-18.5 ซม. ยาว 2.5-9 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือค่อนข้างรูปหัว ดอกมีกลิ่นหอมออกเป็นช่อที่ยอดและตามซอกใบห้อยย้อยลงมา กลีบเลี้ยงเป็นหลอดมีสีเขียวปลายแฉกสามเหลี่ยมสั้นๆ กลีบดอกรูปขอบขนาน ขนาด 10-20 x 3-6 มม. ดอกเริ่มบาน สีขาวเปลี่ยนเป็นสีชมพูจนถึงแดงเข้ม ผลทรงรีแคบๆ 5 พู ยาวประมาณ 2.5 ซม. สีน้ำตาลแดงเป็นมัน
     มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียเขตร้อน  ฤดูกาลดอกออกราวเดือนมกราคม ถึง เมษายน
ประโยชน์
: เมล็ดใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน แต่มีข้อระวัง ห้ามรับประทานมากเพราะเป็นอันตราย