กระทุ่มนา
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mitragyna diversifolia  (Wall. ex G.Don) Havil.
วงศ์ :  RUBIACEAE
ชื่อสามัญ : Mitrayna Korth.
ชื่ออื่น  กระท่อมขี้หมู (เหนือ) กระทุ่มดง (กาญจนบุรี) กระทุ่มน้ำ (กลาง) กาตูม (เขมร-ปราจีนบุรี) ตุ้มแซะ ตุ้มน้อย ตุ้มน้ำ (เหนือ) ถ่มพาย (เลย) ท่อมขี้หมู (สงขลา)  ท่อมนา (สุราษฎร์ธานี) โทมน้อย (เพชรบูรณ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8 - 15 ม. เรือนยอด เป็นพุ่มกลม แตกกิ่งต่ำ ลำต้นคดหรือเปลาตรง เปลือกนอกสีเทา มีรูระบายอากาศขนาดใหญ่ทั่วไป ทำให้ดูเปลือกขรุขระ เปลือกใน สีเหลืองอ่อน
ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเวียนสลับตั้งฉากกัน รูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปขอบขนาน ปลายกว้าง 2.5 - 5 ซม. ยาว 4 - 12 ซม. โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย หรือเกลี้ยง ก้านใบ ยาว 1 - 1.5 ซม. หูใบระหว่างก้านใบคู่ละ 1 คู่ รูปรี หรือรูปไข่กลับยาว 0.5 - 1.3 ซม. ปรากฎชัดเจนตามปลายกิ่ง เส้นใบ มี 8 - 12 คู่ แยกเยื้องกันชัดเจน ปลายเส้นใบจรดเส้นใบถัดไป เส้นใบขนานกันเป็นระเบียบสวยงาม เห็นได้ชัดเจนดอก แบบช่อกระจุกซ้อน 3 ชั้น ระนาบเดียวกัน สลับกับตรงข้าม มีใบประดับขนาดใหญ่ทุกชั้น ลักษณะคล้ายใบแซมห่าง ๆ มีเส้นใบเช่นเดียวกับใบปกติ ก้านใบสีแดง บริเวณส่วนล่างของช่อ ก้านช่อแยกออกเป็นมุม 45 องศาที่โคนก้านดอกแต่ละชั้น ก้านช่อดอกแต่ละชั้น ยาว 3 - 6 ซม. ก้านช่อกลม ดอก สีเหลืองแบบกระจุกแน่น ดูรวมกันแล้วเหมือนดอกกลมขนาด 1 - 2 ซม. แต่ละช่อมีดอกเล็ก ไม่มีก้านดอก กลิ่นหอมแรง กลีบรองกลีบดอกเล็กมาก ติดกันคล้ายรูปถ้วย ขอบตัด กลีบดอกสีเหลือง ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ มี 5 อัน รังไข่ อยู่ใต้วงกลีบมีก้านเกสรเมียยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ผล แห้งแตก รูปไข่ ขนาดเล็ก แต่ภาพที่เห็นเป็นดอกสีดำ
        ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ออกดอกระหว่างเดือน สิงหาคม-กันยายน เป็นผลระหว่างเดือน กันยายน-ตุลาคม การขยายพันธุ์ นิยมเพาะด้วยเมล็ด
ประโยชน์
: ด้านเนื้อไม้แปรรูป ไม่มีรายงานการใช้ประโยชน์ ด้านสมุนไพร มีสรรพคุณคือ ยาแผนโบราณของไทยใช้ใบกระท่อมขี้หมูแทนใบกระท่อม สำหรับบำบัดโรคท้องร่วง เมื่อขาดแคลนใบกระท่อใบ รสขมเฝื่อนเมา แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือดปวดมวนท้อง ฤทธิ์เหมือนสใบกระท่อม แต่อ่อนกว่า ใช้แทนกันได้ เปลือกต้น รสฝาดร้อน รักษาโรคผิวหนังทุกชนิด แก้มะเร็ง คุดทะราด แก้บิดมูกเลือด
ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ สารเคมีคือนใบมีแอลคาลอยด์ประเภท hteroyohimbine และ oxidole หลายชนิดด้วยกัน (Shellardet al,1967) ได้มีการนำ mitraphyline ซึ่งเป็นแอลคาลอยด์ประเภท oxindole ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา  (Saxton,1965) พบว่า แอลคาลอยด์ชนิดนี้มีสรรพคุณ ลดความดันโลหิตและออกฤทธิ์กดต่อกล้ามเนื้อเรียบในสัตว์ทดลอง  ด้านการเป็นไม้ประดับ ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดกลมมีดอกสีเหลืองพราวไปทั้งต้น มีกลิ่นดอกหอมแรง ใบเขียวเกือบตลอดปี ผลัดใบแต่ผลิใบไว ชอบขึ้นในที่ริมน้ำลำคลอง หรือที่ป่าเบญจพรรณชื้น ปลูกประดับในที่ลุ่มน้ำท่วมขังได้ดี ปลูกเป็นไม้ประธานในการจัดสวนก็ไม่เลวโดยเฉพาะกับพื้นที่ที่น้ำท่วมเสมอ ๆ