ก้านเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Nauclea orientalis ( L.)
L.
วงศ์ :
RUBIACEAE
ชื่อพ้อง :
N.cordata Roxb.; Cephalanthus
orientalis L.
ชื่อสามัญ
: Medicinal fatheadtree, Pincushion Tree
ชื่ออื่น :
กระทุ่มคลอง กระทุ่มน้ำ (กลาง,ใต้)
ก้านเหลือง สะแกเหลือง(กลาง) ตุ้มคำ (เหนือ) ตุ้มดง
(บุรีรัมย์,ลำปาง) ตุ้มเหลือง (แม่ฮ่องสอน)
ปอขี้หมาแห้ง (บุรีรัมย์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร
ลำต้นใหญ่ มักคดงอ แตกกิ่งต่ำ
เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกสีเทาอมดำ
แตกเป็นร่องตามยาวไม่เป็นระเบียบ
ตามยอดและกิ่งอ่อนมักมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง
ตามข้อแบนเล็กน้อย ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก
รูปรีหรือรูปไข่ค่อนข้างกว้าง
บางครั้งเกือบเป็นแผ่นกลม กว้าง 5-14 ซม. ยาว 8-25 ซม.
ปลายป้านหรือมน
โคนมนกว้างหรือเว้าเล็กน้อยตรงรอยต่อก้านใบ
ขอบเรียบ แต่เป็นคลื่นห่างๆ
แผ่นใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า
มีขนนุ่มประปรายหรือค่อนข้างเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ
7-12 เส้น สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว
มีเส้นขอบใบรางๆ ก้านใบยาว 1.5-5 ซม.
สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว
มีขนเล็กน้อยหรือเกลี้ยง หูใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ ยาว
1-2.5 ซม. ปลายมน มีขนประปราย หูใบคู่ล่างร่วงง่าย
ช่อดอก เป็นช่อกระจุกแน่น กลม ออกเดี่ยวๆ ตามปลายกิ่ง
ประกอบด้วยดอกสีเหลืองอ่อนขนาดเล็กจำนวนมาก กลิ่นหอม
แต่ละดอกแยกจากกัน เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางช่อดอก
3-5 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดเล็กมาก
โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกยาว 6-9
มม. โคนติดกันคล้ายรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ
เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่ใกล้ปากหลอดกลีบดอกด้านใน
รังไข่มี 2 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียรูปไข่
ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ผล เล็ก รูปรี
เป็นเหลี่ยมเล็กน้อย ผิวแห้ง มีจำนวนมาก
เบียนกันแน่นบนแกนช่อผล เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 ซม.
ระหว่างผลมีเยื่อบางๆ ผลจะหลุดแยกออกจากกันได้ง่าย
เมล็ดเล็กมาก
มีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก
ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคกลาง
บนพื้นที่ราบต่ำจนถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600
เมตร ขึ้นห่างๆ ใกล้ธารน้ำใหญ่ในป่าเบญจพรรณ
ป่าโปร่งที่ค่อนข้างชุ่มชื้น และริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง
ในต่างประเทศพบที่ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า เวียตนามตอนใต้
มาเลเซีย อินโดนีเซีย (ชวา) ไปจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ
ประโยชน์
: เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อน
สีเหลืองเข้มถึงเหลืงอมส้มหรือน้ำตาล
|