ประยงค์
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Aglaia odorata  Lour.
วงศ์ : MELIACEAE
ชื่อสามัญ : Chinese Rice Flower
ชื่ออื่น
 ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม (ภาคเหนือ) ประยงค์ ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง) หอมไกล (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงถึง 10 เมตร มีเกล็ดรูปดาวสีน้ำตาลอมเหลืองอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะที่ปลายยอด ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย 3-5 ใบ แกนกลางช่อใบยาว 1- 6.5 ซม. มักมีปีก บางครั้งมีเกล็ด หรือขนรูปดาว ส่วนมากเกลี้ยง ใบรูปช้อน หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.7-4.5 ซม. ยาว 1.5-11 ซม. ปลายมนกลม บางครั้งพบมีติ่ง โคนแหลมเป็นปีกไปยังก้านใบย่อย ก้านใบย่อยยาว 1-4 มม. เส้นร่างแหค่อนข้างชัดทางด้านล่าง ดอก ออกเป็นช่อกระจาย ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 5-15 ซม. สีเหลือง กลิ่นหอม ดอกยาวผระมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก เกลี้ยง  กลีบดอกมี 5 กลีบ เกลี้ยง ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน อับเรณูอยู่ในท่อเกสร รังไข่มีขนรูปดาวหนาแน่น มี 1 ช่อง ภายในมีไข่อ่อน 1 หน่วย ก้านเกสรเพศเมียมีขนาดใหญ่ ผล รูปไข่กลับ เปลือกบาง กว้าง0.5-1.2 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อสุก เมล็ดติดเนื้อไม่ล่อน ลักษณะกลมหรือรูปไข่ กว้าง 4-8 มม. ยาว 0.5-1.1 ซม. เมล็ดอ่อนสีขุ่น เมล็ดแก่สีน้ำตาล
ประโยชน์
:  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ราก  รับประทานเป็นยาทำให้อาเจียน เพื่อถอนพิษอาการเมา แก้ไข้ น้ำต้มใบกินแก้ประจำเดือนมามากผิดปกติในช่วง

หมดประจำเดือน และอาการไข้จากกามโรค  ดอก มีกลิ่นหอม ใช้แต่งกลิ่นใบชา เรียก "ชาคลีน" มีสารสำคัญได้แก่ odorine, odorinol, aglaiol  เป็นต้น