ประดู่ป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Pterocarpus macrocarpus Kurz
วงศ์ :
LEGUMINOSAE - PAPILIONACEAE
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นอาจเป็นพูเล็กๆ
บ้าง เปลือกสีน้ำตาลดำแตกเป็นระแหงทั่วไป
เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง
ตามกิ่งและก้านอ่อนมีขนนุมทั่วไป กิ่งแก่เกลี้ยง
เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือเป็นรูปร่ม ปลายกิ่งห้อยลู่ลง
ใบ เป็นช่อยาว 12-20 ซม. เรียงสลับกัน ช่อหนึ่งๆ
มีใบย่อยติดเยื้องๆ กันอยู่ 4-10 ใบ ใบย่อยรูปป้อมมน
รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปหอก กว้าง 2.5-5.0 ซม. ยาว
5-15 ซม. โคนใบมนกว้างๆ หรือป้าน ค่อยๆ สอบไปทางปลายใบ
ปลายสุดเป็นติ่งแหลม หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน
ส่วนท้องใบมีขนประปราย ขอบใบเรียบ
เส้นแขนงใบถี่โค้งไปตามรูปใบเป็นระเบียบ
ก้านใบย่อยยาวไม่เกิน 1 ซม.
ก้านใบย่อยและก้านช่อใบบวมและมีขนประปราย
จะผลัดใบก่อนออกดอก แล้วผลิใบใหม่ในเวลาอันรวดเร็ว ดอก
ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ตอนปลายๆ กิ่ง ช่อหนึ่งๆ ยาว
10-20 ซม.
เป็นดอกสมบูรณ์เพศโคนกลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย
ด้านนอกมีขนนุ่ม ปลายแยกเป็นแฉกทู่ๆ 5 แฉก ใหญ่ 2 แฉก
เล็ก 3 แฉก กลีบดอกเป็นรูปช้อนเล็กๆ
ปลายกลีบกว้างและเป็นคลื่น
โคนกลีบเรียวสอบเป็นก้านกลีบปกและกลีบปลีก 2 กลีบ
เป็นลอนขยุกขยิก ส่วนกลีบหุ้ม 2 กลีบรูปมน เกสรผู้มี
10 อัน รังไข่มีก้านชูรังไข่ ภายในมีไข่อ่อน 2 หน่วย
หลอดท่อรังไข่โค้งและจะกลายเป็นจะงอยติดอยู่ที่ขอบครีบของผลในเวลาต่อมา
ผล เป็นแผ่นกลมคล้ายจานบิน
ตรงกลางนูนแล้วลาดออกเป็นครีบบางๆ โดยรอบ กว้างประมาณ
5-7 ซม.
ออกดอกเดือน มีนาคม -
เมษายน
ประโยชน์ : เนื้อไม้
สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอย่างสีอิฐแก่
มีเส้นแก่กว่าสีพื้น บางทีมีลวดลายสวยงาม
เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง แข็ง
แข็งแรงและทนทาน ไสกบตบแต่งและชักเงาได้ดี
ใช้ทำบ้านเรือน พื้น เสา รอด
และสิ่งที่รองรับน้ำหนักมากๆ ทำกระบะรถ เกวียน
ลูกกลิ้ง ด้ามเครื่องมือ ปุ่มของไม้
ประดู่มีลวดลายสวยงามและมีราคาสูง ใช้ทำเครื่องเรือน
เปลือก ให้สีน้ำตาล แก่น ให้สีแดงคล้ำ ใช้ย้อมผ้า
แก่นมีรสขมหวาน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ โลหิตกำเดา
แก้ไข้ ใช้ปุ่มต้มเอาควันรมทวารให้หัวริดสีดวงฝ่อแห้ง
|