รสสุคนธ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Tetracera loureiri
(Finet & Gagnep.)
Pieere ex Craib
วงศ์ :
DILLENIACEAE
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
เถาะปดใบเลื่อม (ประจวบคีรีขันธ์)
บอระคน อรคนธ์ (ตรัง) ปดคาย ปดเลื่อน
(สุราษฎร์ธานี) ปดน้ำมัน (ปัตตานี) ปะละ สะปัลละ
(มลายู-นราธิวาส) มะตาดเครือ รสสุคนธ์ขาว สุคนธรส
เสาวรส (กรุงเทพฯ) ย่านปด (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบ
เป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10
ซม. โคนและปลายใบแหลม ผิวใบสากคาย ดอก
สีขาวหรือชาพูอ่อน กลิ่นหอม ออกเป็นช่อแน่น
ดอกย่อยขนาด 1.2-2 ซม. จำนวนมาก กลีบรองดอก 5 กลีบ
ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก หลุดร่วงง่าย เกสรผู้จำนวนมาก
ยาว 4-5 มม.
ออกดอกตลอดปี ผล
ผลเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 2-3 ผล รูปไข่ปลายแหลม
ขั้วผลมีวงกลีบรวมติดอยู่
ที่ปลายมีจุกเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลแก่แห้งแตกได้ 2 ซีก
เมล็ดมีขนาดเล็กรูปไข่
ผิวเรียบมีเนื้อหุ้มที่ปลายเป็นแฉกฝอยๆ สีขาว
และเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อผลแก่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4
มม. เมล็ดอ่อนสีขาว เมล็ดแก่สีดำ จำนวน 1-2 เมล็ด
พบกระจายพันธุ์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ตามป่าดิบ หรือป่าผลัดใบ ที่ใกล้ระดับน้ำทะเล ถึงระดับ
400 เมตร
ประโยชน์
:
ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี ดอก
ใช้เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้อาการเป็นลม อ่อนเพลีย
|