รกฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Terminalia alata Heyne ex Roth
วงศ์ :
COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
กอง (เหนือ, สงขลา) เชือก
(สุโขทัย) เซียก เซือก (เหนือ) ฮกฟ้า (เหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
ผลัดใบ สูง 20-30 เมตร เปลือกนอกสีเทาถึงเทาปนดำ
แตกเป็นร่องลึกและเป็นสะเก็ดทั่วไป
เปลือกในสีน้ำตาลแดง
ถ้าถูกตัดจะมีน้ำเลี้ยงสีแดงเรื่อๆ ออกมา
เรือนยอดทรงรูปไข่หรืออาจแผ่กว้างค่อนข้างทึบ
กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบ
เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย
ทรงใบรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-12
ซม. ยาว 10-35 ซม. โคนใบมนและเบี้ยว
ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เนื้อใบหนา
ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลทั้งสองด้าน พอใบแก่ขนจะหลุดร่วงหมด
ที่โคนง่ามแขนงใบช่วงใกล้ๆ
โคนใบจะมีตุ่มหูดหนึ่งหรือสองตุ่ม เส้นแขนงใบ มี 14-20
คู่ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาว
1-2 ซม. มีขนประปราย ดอก เล็ก สีขาวหรือขาวอมเหลือง
เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ออกรวมกันเป็นช่อแบบแยกแขนงตามง่ามใบและปลายๆ กิ่ง
ช่อย่อยเป็นพวงแบบหางกระรอก ดอกบานเต็มที่กว้างไม่เกิน
4 มม. กลีบฐานดอกมี 5 แฉก
โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนทั้งสองด้าน
ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ มี 10 อัน รังไข่
รูปทรงกระบอกสั้นๆ มีขนแน่น
ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย ผล รูปรีๆ
มีครีบโตๆ ตามยาวผล 5 ครีบ ผลรวมทั้งครีบกว้าง 4.5-5.5
ซม. ยาว 4.5-6.5 ซม. ผลแก่ออกสีเหลืองซีดๆ
แต่ละผลมีเมล็ดเดียว
ระยะการออกดอกเป็นผล
จะทิ้งใบหมดในช่วงปลายฤดูหนาวต่อช่วงฤดูร้อน
จะผลิช่อพร้อมใบใหม่ในช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
ผลแก่จะเต็มที่ระหว่างเดือน กันยายน-พฤศจิกายน
ประโยชน์ :
เนื้อไม้ สีน้ำตาลดำ
หนักและแข็งมาก เสี้ยนสน ขัดชักเงาได้ดี ใช้ทำพื้น ฝา
รอด ตง คาน เสา เครื่องบน ทำไม้บุผนัง
เครื่องมือทางเกษตร ด้ามเครื่องมือ
เครื่องกลึงและแกะสลัก เปลือก ให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง
ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือก ใช้เป็นยาแก้โรคท้องร่วง
|