สรุปงานฝึกเรียนรู้ทรัพยากรทะเล "เกาะแสมสาร อพ.สธ. - ทร. "

โรงเรียนบำรุงศิษย์ศึกษา จังหวัดชลบุรี

เมื่อวันที่ 24-28 มกราคม 2548

 
 

 

  ย้อนกลับ 

   

 

        
       

กำหนดการ

 

วันจันทร์ที่  24  มกราคม  พ..2548

08:30 .           วิทยากร คณะอาจารย์และคณะนักเรียน  เดินทางถึงท่าเทียบเรือเขาหมาจอ

09:00 .           เดินทางถึงเกาะแสมสาร

09.10 .           วิทยากรกล่าวเปิดงานเรียนรู้ทรัพยากรทะเล  พร้อมทั้งแนะนำพื้นที่เกาะแสมสาร

09.30 .           วิทยากรแบ่งกลุ่มนักเรียน  เพื่อทำการศึกษาทรัพยากรชีวภาพและกายภาพตามเส้นทางเสด็จฯ ระยะทาง  1,100  เมตร

12.00 .           รับประทานอาหาร

13.00 .           สรุปผลการศึกษา

15.00 .           นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม

16.00 .           เดินทางออกจาก เกาะแสมสาร

 

วันอังคารที่  25  มกราคม   พ..2548

08:30 .           วิทยากร คณะอาจารย์และคณะนักเรียน  เดินทางถึงท่าเทียบเรือเขาหมาจอ

09:00 .           เดินทางถึงเกาะแสมสาร

09.10 .           แบ่งกลุ่มศึกษารูปลักษณะของเม่นทะเลดำหนามยาวอย่างละเอียด

12.00 .           รับประทานอาหาร

13.00 .           สรุปผลการศึกษา

15.00 .           นำเสนอผลการศึกษา

16.00 .           เดินทางออกจาก เกาะแสมสาร

 

วันพุธที่  26  มกราคม  พ..2548

08:30 .           วิทยากร คณะอาจารย์และคณะนักเรียน  เดินทางถึงท่าเทียบเรือ

เขาหมาจอ

09:00 .           เดินทางถึงเกาะแสมสาร

09.10 .           แบ่งกลุ่มศึกษาพฤติกรรมของเม่นทะเลดำหนามยาวอย่างละเอียด

12.00 .           รับประทานอาหาร

13.00 .           สรุปผลการศึกษาเรียนรู้

15.00 .           นำเสนอผลการศึกษาในแต่ละกลุ่ม

16.00 .           เดินทางออกจาก เกาะแสมสาร

                                       

วันพฤหัสบดีที่  27  มกราคม  พ..2548

08:30 .           วิทยากร คณะอาจารย์และคณะนักเรียน  เดินทางถึงท่าเทียบเรือ

เขาหมาจอ

09:00 .           เดินทางถึงเกาะแสมสาร

09.10 .           แบ่งกลุ่มเพื่อทำการศึกษาระบบนิเวศน์ของเม่นทะเลดำหนามยาวในทะเล

12.00 .           รับประทานอาหาร

13.00 .           สรุปผลการศึกษาเรียนรู้

15.00 .           นำเสนอผลการศึกษาในแต่ละกลุ่ม

16.00 .           เดินทางออกจาก เกาะแสมสาร

 

วันศุกร์ที่ 28  มกราคม  พ..2548

08:30 .           วิทยากร คณะอาจารย์และคณะนักเรียน  เดินทางถึงอาคารต้อนรับ

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย

09:00 .           นักเรียนจดความรู้จากบอร์ดนิทรรศการภายในอาคารต้อนรับ

09.40 .           นำเสนอความรู้ที่ได้จากบอร์ดนิทรรศการ

10.00 .           สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับทั้งหมดเกี่ยวกับเม่นทะเลดำหนามยาว โดยใช้

ความเข้าใจที่ได้รับจากการสัมผัส ไม่ให้เปิดสมุดบันทึก

11.30 .           รับประทานอาหาร

12.30 .           กำหนดงานศึกษาที่เนื่องต่อในแต่ละกลุ่ม และวิทยากรสรุปความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเม่นทะเลดำหนามยาว

14.00 .           นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม

14.30 .           วิทยากรสรุปความรู้ทั้งหมดที่ได้รับตลอดการศึกษา

15.00 .           เดินทางกลับ

สรุปผลการปฏิบัติงา
 

 คณะปฏิบัติงาน

1. หน่วยอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ เกาะแสมสาร

1.      นางสาววิภารัตน์ เทพแก้ว

2.      นางสาวแพรวพรรณ พัทธยุติ

3.      นางสาวกลิ่นสุคนธ์ แซ่ซุน

2. เจ้าหน้าที่หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ

1.      ...ชาญชิต มุ่งสูงเนิน

2.      ..สมพงษ์ สิงห์สุโต

 

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ..2548

การจัดการ

ภาคเช้า : แบ่งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน เพื่อเดินทางศึกษาทรัพยากรชีวภาพและกายภาพ บริเวณเส้นทางเสด็จระยะทาง 1,100 เมตร

ภาคบ่าย : สรุปผลการศึกษาพร้อมทั้งวาดภาพประกอบ และนำเสนอผลการศึกษา

 

เนื้อหาสาระ

ภาคเช้า

                        ศึกษาทรัพยากรชีวภาพและกายภาพ   

อุปกรณ์

แว่นขยาย, เวอร์เนีย, สมุดบันทึก ,ดินสอ ,ไม้บรรทัด,ยางลบ

วิธีการ

แบ่งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จำนวน 30 คน ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่มจะมีเจ้าหน้าที่ประจำ ดังนี้

1.      นางสาววิภารัตน์ เทพแก้ว

2.      ...ชาญชิต มุ่งสูงเนิน

3.      ..สมพงษ์ สิงห์สุโต

4.      นางสาวกลิ่นสุคนธ์ แซ่ซุน

5.      นางสาวแพรวพรรณ พัทธยุติ

จากนั้นเดินทางขึ้นไปศึกษาบริเวณเส้นทางเสด็จระยะทาง 1,100 เมตร ระหว่างการเดิน

ทางวิทยากรจะแนะนำสถานที่ในแต่ละจุดที่สำคัญ เช่น บริเวณอ่างเก็บน้ำเกาะแสมสาร บริเวณฝายชะลอความชุ่มชื้น เป็นต้น และได้แนะนำให้นักเรียนเลือกทรัพยากรที่สนใจเพื่อนำมาศึกษา บางกลุ่มอาจจะทำการศึกษาในพื้นที่ บางกลุ่มอาจจะเก็บทรัพยากรลงมาศึกษาบริเวณศาลาทะเล ใช้เวลาเดินทางถึงตอนพักเที่ยง จากนั้นจึงรับประทานอาหาร

สถานที่

                        บริเวณเส้นทางเสด็จระยะทาง 1,100 เมตร เกาะแสมสาร

                       

ภาคบ่าย

สรุปผลการศึกษา และนำเสนอผลการศึกษา

อุปกรณ์

สมุดบันทึก, ดินสอ ,ไม้บรรทัด,ยางลบ

วิธีการ

ให้นักเรียนสรุปผลการศึกษาลงในแผ่นกระดาษ ซึ่งวิทยากรจะถามนักเรียนถึงหัวข้อที่จำเป็นจะต้องเขียนลงในรายงาน ซึ่งจะมีหัวข้อดังนี้

1.      ชื่อหัวข้อศึกษา

2.      ชื่อผู้ศึกษา

3.      สถานที่ศึกษา

4.      ชื่อที่ปรึกษา

5.      วิธีการในการศึกษา

6.      วัสดุ – อุปกรณ์

7.      ผลการศึกษา

8.      การเปรียบเทียบสิ่งที่ศึกษากับตน

9.      คุณธรรมที่ได้จากการศึกษา

10.  ข้อเสนอแนะ

            การนำเสนอข้อมูล

นักเรียนจะเลือกตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอสิ่งต่างๆที่ได้ไปศึกษามา การนำเสนอสามารถสรุปได้ดังนี้

ตัวอย่างการนำเสนอ (ทรัพยากรกายภาพ)

หินชั้นสลับสี มีลวดลายที่สวยงาม มีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีส้ม สีเทา สีเหลือง สีเขียว เป็นต้น

 

            สิ่งที่นักเรียนได้รับ

1.      รู้ความหมายของคำว่าทรัพยากรชีวภาพ และกายภาพ

2.      รู้วิธีการในการเดินเขาทั้งการขึ้นและการลง

3.      รู้จักทรัพยากรแต่ละชนิดที่ตนสนใจ โดยการสัมผัส และตอบคำถามจากวิทยากร

4.      รู้จักคุณธรรมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

 

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.. 2548
การจัดการ

ภาคเช้า : การศึกษารูปลักษณะของเม่นทะเลดำหนามยาว อย่างละเอียด

ปฏิบัติการเรียนรู้ : แบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน

ภาคบ่าย : สรุปผลการศึกษา และนำเสนอผลงาน
เนื้อหาสาระ

ภาคเช้า

การศึกษารูปลักษณะของเม่นทะเลดำหนามยาว อย่างละเอียด

            อุปกรณ์

แว่นขยาย, เวอร์เนีย, สมุดบันทึก, ดินสอ ,ไม้บรรทัด, กล่องพลาสติก 4 ใบ, ตู้ปลา 1 ตู้

วิธีการ

แบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม โดยใช้กลุ่มเดิม (เมื่อวันจันทร์) แต่ละกลุ่มจะได้เม่นทะเลดำหนามยาวไว้ศึกษากลุ่มละ 1 ตัว ในช่วงแรก วิทยากรจะให้นักเรียนศึกษาในภาพรวมก่อน คือ ให้แต่ละกลุ่มเห็นว่าทั้งตัวของเม่นนั้นมีอะไรบ้าง เมื่อศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว วิทยากรจะเฉลยคำเรียกแต่ละส่วนของเม่นทะเลดำหนามยาว เพื่อให้เข้าใจได้ถูกต้อง จากนั้นวิทยากรจะให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกว่าสมาชิกภายในกลุ่มนั้นมีความสนใจส่วนใดของเม่นเป็นพิเศษ เพื่อที่จะได้ศึกษาในส่วนนั้น ๆ อย่างละเอียด มีให้เลือกทั้งสิ้น 5 ส่วน คือ

1.      หนามยาว

2.      หนามสั้น

3.      ปากและฟัน

4.      ทวาร

5.      จุดรับแสง (ทั้งสีขาวและสีฟ้า)

ตัวอย่างคำถามเกี่ยวกับการศึกษา

ฟันของเม่นมีจำนวนเท่าไร/แต่ละซี่มีลักษณะเป็นอย่างไร/ด้านข้างของฟันแต่ละซึ่งเป็นอย่างไร

 

            สถานที่

                        บริเวณศาลาทะเล เกาะแสมสาร

 

ภาคบ่าย

การสรุปผลการศึกษาและนำเสนอผลการศึกษา

            อุปกรณ์

                        แผ่นกระดาษ, สมุดบันทึก, ปากกา

            วิธีการ

นักเรียนจะใช้หัวข้อที่ได้ช่วยกันคิดไว้เมื่อวันจันทร์นำมาเขียนลงในแผ่นกระดาษ โดยจะเว้นกระดาษด้านซ้ายมือเพื่อเย็บเล่ม ในส่วนของผลการศึกษาก็จะคัดลอกและจัดลำดับเพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายลงในแผ่นกระดาษด้วย จากนั้นก็จะนำเสนอ

            การนำเสนอข้อมูล

นักเรียนจะเลือกตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอสิ่งต่างๆที่ได้ไปศึกษามา การนำเสนอสามารถสรุปได้ดังนี้

ตัวอย่างของกลุ่มที่ศึกษาเรื่องของปากและฟันของเม่นทะเลดำหนามยาว

ปากของเม่นจะนิ่มมีสีม่วง ฟันของเม่นจะมี 5 ซี่ มันจะหุบเข้าหุบออกได้ เมื่อมันหุบเข้าหากันทั้ง 5 ซี่มันจะเหมือนกับเอเลี่ยน ฟันของมันจะมีสีขาว แต่ละซี่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ด้านข้างของฟันแต่ละซี่จะเป็นเหมือนฟันเลื่อยแต่ละไม่คม บางด้านก็จะบิ่น บางด้านจะไม่บิ่น

            สิ่งที่นักเรียนได้รับ

1.      รู้รูปลักษณะของเม่นทะเลดำหนามยาวอย่างละเอียด

2.      รู้วิธีในการลำดับความคิดเพื่อที่จะนำมาเขียนผลการศึกษาให้อ่านเข้าใจได้ง่าย

3.      รู้จักที่จะสังเกต จดจำ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นแนวทางการศึกษา “การตั้งคำถามที่เนื่องต่อ” อันจะทำให้เกิดการรู้จริงตามมา

 

วันพุธที่ 26 มกราคม พ..2548

การจัดการ

ภาคเช้า : ศึกษาพฤติกรรมของเม่นทะเลดำหนามยาว อย่างละเอียด

ปฏิบัติการ : แบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ศึกษาโดยการเวียนฐานที่วิทยากรจัดไว้

โดยใช้เวลาในแต่ละฐานประมาณ 30 นาที

ภาคบ่าย : สรุปผลการศึกษา และนำเสนอผลการศึกษา
เนื้อหาสาระ

          ภาคเช้า

การศึกษาพฤติกรรมของเม่นทะเลดำหนามยาว อย่างละเอียด

อุปกรณ์

            สมุดจด, ดินสอ, ยางลบ, ไม้บรรทัด, แว่นขยาย, เวอร์เนีย

วิธีการ

แบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ศึกษาพฤติกรรมของเม่นทะเลดำหนามยาว กับทรัพยากรอื่น  ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีเม่นทะเล 2 ตัว โดยวิทยากรกำหนดให้มี 5 ฐาน ดังนี้

1.      เม่นทะเลดำหนามยาวกับปลา

2.      เม่นทะเลดำหนามยาวกับพื้นที่ชายหาด ในบริเวณจำกัด

3.      เม่นทะเลดำหนามยาวกับพื้นที่ชายหาด ในบริเวณที่ไม่จำกัด

4.      เม่นทะเลดำหนามยาวกับปลิงทะเล

5.      เม่นทะเลดำหนามยาวกับปูลม

โดยในแต่ละกลุ่มจะต้องได้ศึกษาครบทั้ง 5 ฐาน ซึ่งจะใช้เวลาในการศึกษาฐานละ 30 นาที จากนั้นก็จะหมุนเวียนเปลี่ยนกันไป โดยในระหว่างการศึกษาจะมีผู้ที่คอยจดบันทึกภายในกลุ่ม และวิทยากรก็จะเวียนกันไปเพื่อไปคอยชี้แนะการศึกษาโดยการตั้งคำถาม

ตัวอย่างคำถามในฐานที่ 3

ขณะที่เม่นอยู่บนชายหาดเม่นมีพฤติกรรมอย่างไร/เม่นทั้ง 2 ตัวมีพฤติกรรมเหมือนกันหรือไม่/เม่นตัวใดเคลื่อนตัวได้เร็วกว่ากัน

 

ภาคบ่าย

การสรุปผลการศึกษา และนำเสนอผลงาน

อุปกรณ์

                        แผ่นกระดาษ, สมุดจด, ดินสอ, ยางลบ, ไม้บรรทัด

            วิธีการ

นักเรียนจะใช้หัวข้อที่ได้ช่วยกันคิดไว้เมื่อวันจันทร์นำมาเขียนลงในแผ่นกระดาษ โดยจะเว้นกระดาษด้านซ้ายมือเพื่อเย็บเล่ม ในส่วนของผลการศึกษาก็จะคัดลอกและจัดลำดับเพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายลงในแผ่นกระดาษด้วย จากนั้นก็จะนำเสนอ

            การนำเสนอข้อมูล

นักเรียนจะเลือกตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอสิ่งต่างๆที่ได้ไปศึกษามา การนำเสนอสามารถสรุปได้ดังนี้

ตัวอย่างการนำเสนอ

1.      ปลาจะหนีเม่นเมื่อมาโดนหนามของเม่น เม่นไม่เคลื่อนที่

2.      เมื่อเม่น 2 ตัวอยู่ในพื้นที่เดียวกันมันจะหนีกัน

3.      เม่นทั้ง 2 ตัวมีขนาดไม่เท่ากัน ตัวใหญ่จะใช้เวลาในการเดินช้ากว่าตัวเล็ก ในเวลา 1 นาที ตัวใหญ่จะเดินได้ ประมาณ 1 เซนติเมตร แต่ตัวเล็กจะเดินได้ประมาณ 11 เซนติเมตร

4.      ปลิงจะไม่อยู่ใกล้เม่นเมื่อจับมันมาอยู่ใกล้กัน ปลิงจะหนีเม่นโดยการหดตัวเข้าหากัน

5.      ปูจะใช้เม่นในการทำเป็นที่หลบภัย โดยจะเข้าไปอยู่ใกล้เม่นที่อยู่ตรงมุมกล่อง

สิ่งที่นักเรียนได้รับ

1.      รู้จักพฤติกรรมของเม่นทะเลดำหนามยาว อย่างละเอียด

2.      รู้ความสัมพันธ์ของเม่นทะเลดำหนามยาว กับทรัพยากรอื่น ๆ

3.      เกิดความเมตตาที่จะไม่ทำร้ายทรัพยากรที่ศึกษา

 

วันพฤหัสที่ 27 มกราคม พ.. 2548
การจัดการ

ภาคเช้าศึกษาระบบนิเวศน์ของเม่นทะเลดำหนามยาวในทะเล

ปฏิบัติการ : แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม กายบริหาร และนั่งเรือยางไปศึกษาที่เกาะปลาหมึก

            ภาคบ่าย : สรุปผลการเรียนรู้ และนำเสนอผลงาน
เนื้อหาสาระ

ภาคเช้า

            ศึกษาระบบนิเวศน์ของเม่นทะเลดำหนามยาวในทะเล

อุปกรณ์

แว่นดำน้ำ, ท่อหายใจ, เสื้อชูชีพ, เรือยาง,

วิธีการ

แบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม จัดกายบริหารก่อนลงศึกษา นำโดยเจ้าหน้าที่หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ จากนั้นนั่งเรือยางไปศึกษาบริเวณเกาะปลาหมึก โดยก่อนทำการศึกษาวิทยากรจะให้คำถาม ดังนี้

1.      นักเรียนมีการเตรียมกายอย่างไรบ้างก่อนปฏิบัติการศึกษา

2.      เมื่อมีการเตรียมกายแล้ว ขณะศึกษานักเรียนมีอุปสรรคหรือไม่ และนักเรียนแก้ไขอย่างไร

3.      นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง

3.1  ก่อนไปปฏิบัติการ

3.2  ขณะปฏิบัติการ

3.3  หลังปฏิบัติการ

4.      ให้นักเรียนบอกสภาพรอบ ๆ ที่เม่นทะเลดำหนามยาวอาศัยอยู่

5.      ให้นักเรียนสังเกตและอธิบายความสัมพันธ์ของเม่นทะเลดำหนามยาวแต่ละตัวในบริเวณที่พบ

6.      ให้นักเรียนสังเกตว่าเม่นมีพฤติกรรมอย่างไรในสภาพของมัน

7.      ให้นักเรียนเปรียบเทียบการศึกษาเม่นทะเล เมื่อเรานำมาศึกษาในห้องเรียนกับสภาพธรรมชาติ

8.      ให้นักเรียนบรรยายพร้อมวาดภาพประกอบระบบนิเวศใต้น้ำที่นักเรียนได้ไปศึกษา

9.      ระบบนิเวศใต้ทะเลที่นักเรียนพบเห็นมีความสัมพันธ์กันในแง่ใดบ้าง

10.  ให้นักเรียนสังเกตว่า สิ่งใดที่นักเรียนคิดว่าไม่ควรจะมีในบริเวณที่ไปศึกษา และนักเรียนคิดว่าระบบนิเวศน์ใต้ทะเลที่พบมีความสมบูรณ์หรือไม่ ควรมีสิ่งใดเพิ่มเติมบ้าง

            สถานที่

                        เกาะปลาหมึก

 

ภาคบ่าย

การศึกษาศึกษาระบบนิเวศขนาดเล็กบริเวณชายฝั่งทะเล

อุปกรณ์

            สมุดบันทึก, ปากกา

สถานที่

ศาลาทะเล เกาะแสมสาร

            วิธีการ

นักเรียนจะใช้หัวข้อที่ได้ช่วยกันคิดไว้เมื่อวันจันทร์นำมาเขียนลงในแผ่นกระดาษ โดยจะเว้นกระดาษด้านซ้ายมือเพื่อเย็บเล่ม ในส่วนของผลการศึกษาก็จะคัดลอกและจัดลำดับเพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายลงในแผ่นกระดาษด้วย จากนั้นก็จะนำเสนอ

            การนำเสนอข้อมูล

นักเรียนจะเลือกตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอสิ่งต่างๆที่ได้ไปศึกษามา การนำเสนอสามารถสรุปได้ดังนี้

ตัวอย่างการนำเสนอ
เม่นเมื่ออยู่ในทะเลจะมีขนาดใหญ่กว่าที่เห็นบริเวณสะพานมาก จะมีชีวิตชีวากว่าตอนที่เห็นเวลาที่จับมันขึ้นมา และการอยู่รวมกันมันจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม จะไม่อยู่แยกกัน พบเห็นมากบริเวณก้อนหิน

            สิ่งที่นักเรียนได้รับ

1.      ได้ความรู้ในเรื่องเม่นทะเลดำหนามยาวในสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ

2.      เห็นระบบนิเวศน์บริเวณที่ศึกษา อันจะนำไปสู่ความประทับใจ และก่อเกิดการอนุรักษ์

3.      ได้ความรู้ในการใช้อุปกรณ์ในการดำน้ำ และวิธีการในการที่จะลอยตัวในน้ำเพื่อศึกษา

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.. 2548
การจัดการ

ภาคเช้า : สรุปผลการเรียนรู้เรื่องเม่นทะเลดำหนามยาว

ภาคบ่าย : คิดงานที่เนื่องต่อในเรื่องที่ศึกษา และวิทยากรสรุปผลการเรียนรู้ทรัพยากรทะเล
เนื้อหาสาระ

            ภาคเช้า

สรุปผลการเรียนรู้เรื่องเม่นทะเลดำหนามยาว

            อุปกรณ์

                        สมุดบันทึก, ดินสอ, ยางลบ

            วิธีการ

นักเรียนสรุปการเรียนรู้เรื่องเม่นทะเลดำหนามยาว ความสัมพันธ์ของเม่นทะเลดำหนามยาวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตอื่น ๆ ในทะเล โดยใช้ประสบการณ์จากความจำที่ได้รับจากการสัมผัสทรัพยากรตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อที่วิทยากรจะได้ประเมิน ปรับปรุงสิ่งที่วิทยากรได้ให้กับนักเรียนในรุ่นต่อไป

สถานที่

อาคารต้อนรับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เขาหมาจอ

                             

          ภาคบ่าย

คิดงานศึกษาที่เนื่องต่อ และสรุปผลการเรียนรู้โดยวิทยากร

วิธีการ

ให้นักเรียนคิดงานที่เนื่องต่อจากการศึกษา โดยได้ยกตัวอย่างจากนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดม เขตปทุมวัน ในเรื่องการศึกษากิ้งกือ ว่า “จากธรรมชาติสู่วิทยาการ เป็นทฤษฎี สู่เทคโนโลยี” ซึ่งเป็นแนวความคิดของท่าน ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร หลังจากนี้วิทยากรได้สรุปสิ่งที่ได้แนะนำให้กับนักเรียนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยได้ให้แนวคิดแนวทางในการทำงานของท่าน ดร.พิศิษฐ์  วรอุไร ในเรื่อง “คิดการคิดงานใด คิดให้ใหญ่ คิดให้กว้าง คิดให้ไกล ทำการทำงานใด ทำให้เล็ก ทำให้ลึก ทำให้ละเอียด” และได้แนะนำให้นักเรียนหัดตั้งคำถามให้กับตนเองเพื่อความรู้จริงในการศึกษาที่ได้จากการสัมผัส จากนั้นวิทยากรให้นักเรียนตอบแบบสอบถาม และกลับบ้าน

สถานที่

อาคารต้อนรับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เขาหมาจอ

            สิ่งที่นักเรียนได้รับ

1.      ได้ความรู้จากบอร์ดนิทรรศการภายในอาคารต้อนรับพิพิธภัณฑ์ฯ

2.      ได้แนวคิดแนวทางในการศึกษา อันจะเป็นประโยชน์ต่อไปกับนักเรียน

 

แบบตอบรับการเข้าร่วมงานฝึกเรียนรู้ทรัพยากรทะเล
  ร่างกำหนดการงานฝึกเรียนรู้ทรัพยากรทะเล


www.rspg.thaigov.net