|
ไวน์มะเกี๋ยง
ไวน์มะเกี๋ยงเป็นไวน์ผลไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มไวน์ชมพู
(Rose หรือ Pink wine)เนื่องจากน้ำมะเกี๋ยงมีสีแดงไม่เข้ม
โดยทั่วไปไวน์มะเกี๋ยงผลิตเป็นไวน์ชนิด
Table wine คือ
มีประมาณแอลกอฮอล์ระหว่างร้อยละ
9 -14 โดยปริมาตร (Richard,1981)
เนื่องจากผลและน้ำมะเกี๋ยงมีความเปรี้ยวและมีปริมาณกรดมาก
ส่วนใหญ่เป็นกรดซิตริกประมาณร้อยละ
1.69 และกรดมาลิกร้อยละ 0.17 (ทวีพร.2536)
ในการทำไวน์มะเกี๋ยงจึงต้องมีการเจือจางน้ำมะเกี๋ยงด้วยน้ำเพื่อให้มีปริมาณกรดเหมาะสมที่เชื้อยีสต์
สามารถเจริญและสร้างแอลกอฮอล์ได้ตามต้องการ
โดยธรรมชาติสีของผลมะเกี๋ยงและน้ำมะเกี๋ยงเกิดจากรงควัตถุแอนโธซัยยานินส์
(anthocyanins)
ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีตามความเป็นกรด-ด่าง
(ทวีพร,2536)
การทำไวน์มะเกี๋ยงทำโดยใช้ผลมะเกี๋ยงแช่แข็งในอัตราส่วนผลมะเกี๋ยงต่อน้ำเท่ากับ
1 ต่อ 3 และทำลายเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อน
80 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที
ไวน์ที่ได้จะมีสีแดง
มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 13
โดยปริมาตร
มีปริมาณกรดทั้งหมดร้อยละ
0.66 ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ (reducing
sugar) 32.11 กรัมต่อลิตร ธีรวัลย์
และคณะ (2541)
ได้ทำการศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อไวน์มะเกี๋ยงชนิดหวานเล็กน้อย
(semi - dry wine) พบว่า
ผู้บริโภคร้อยละ 91 ชอบไวน์มะเกี๋ยงชนิดนี้
ในปัจจุบันตลาดไวน์ในประเทศไทยมีแนวโน้มการบริโภคไวน์ที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไวน์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
การพัฒนาไวน์ผลไม้ในประเทศไทยจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง
ซึ่งถ้าสามารถพัฒนาคุณภาพไวน์ผลไม้ให้มีคุณภาพทัดเทียมกับไวน์ต่างประเทศและเป็นที่ยอมรับของผู้
บริโภค จะช่วยลดการนำเข้า
และลดการเสียดุลการค้าระหว่างประเทศ |
|
เนคต้ามะเกี๋ยง
( Nectar )
เครื่องดื่มเนคต้า คือ
เครื่องดื่มผลไม้ที่มีส่วนของเนื้อผลไม้ผสมอยู่ด้วยในปริมาณร้อยละ
20 - 50 มีของแข็งที่ละลายได้หมด
15 องศาบริกซ์
ใช้ดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องเจือน้ำ
ส่วนผสมในการทำเนคต้ามะเกี๋ยงที่เหมาะสมคือ
เนื้อมะเกี๋ยงร้อยละ 20
น้ำตาลร้อยละ 15 เพคติน
ร้อยละ 0.5 และกัวกัม (guar gum)
ร้อยละ 0.1
|
|
แยมมะเกี๋ยง
การทำแยมมะเกี๋ยง
ทำได้โดยใช้เนื้อมะเกี๋ยง
ต่อน้ำในอัตราส่วน 30 ต่อ 70
จะได้แยมมะเกี๋ยงที่มีลักษณะเจลที่อยู่ตัวมีความข้นเหนียว
เหมาะสำหรับทาบนขนมปัง
ให้กลิ่น สี รสชาติที่ดี
ผลิตภัณฑ์มีความเป็นกรด-ด่าง
3.2 มีปริมาณกรดร้อยละ 0.79
ปริมาณของแข็งที่ละลายได้
68.5 องศาบริกซ์ ปริมาณเพคตินร้อยละ
2.28
ปริมาณของแข็งทั้งหมดร้อยละ
28.8
|
|
มะเกี๋ยงดอง
การทำมะเกี๋ยงดอง
ทำโดยใช้ผลมะเกี๋ยงสุก 600
กรัม ดองในน้ำดอง 2,000 กรัม
ที่ประกอบด้วยเกลือแกง
ร้อยละ อ2.5 และแคลเซียมคลอไรด์ร้อยละ
0.5
ดองในภาชนะแก้วโดยใช้ถุงน้ำเกลือปิดทับให้ผลมะเกี๋ยงจมในน้ำดอง
และดองนาน 1 เดือน
|
|
มะเกี๋ยงแช่อิ่มแห้ง
การทำแห้งมะเกี๋ยงโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมที่จะปรับรสชาติของมะเกี๋ยงให้มีความหวานเพิ่มขึ้น
และความเปรี้ยวลดลง
ทำให้ได้ผลมะเกี๋ยงแห้งที่มีรสชาติกลมกล่อม
ไม่หวานหรือเปรี้ยวมากเกินไป
วิธีการทำมะเกี๋ยงแช่อิ่มแห้ง
คือ ใช้ผลมะเกี๋ยงสุกแดง
ล้างให้สะอาด
คลุกด้วยน้ำตาลทรายร้อยละ 30
เก็บไว้ในตู้เย็น 1 คืน
จากนั้นเพิ่มความเข้มข้นของน้ำตาลทุกวันในปริมาณร้อยละ
10 ต่อวัน
จนได้ความเข้มข้นสุดท้ายร้อยละ
50
จึงนำผลมะเกี๋ยงแช่อิ่มจุ่มในน้ำเดือด
เพื่อล้างน้ำเชื่อมที่ติดที่ผิวเปลือกมะเกี๋ยง
จากนั้นนำไปอบในตู้อบลมร้อน
(tray dryer) อุณหภูมิ 60
องศาเซลเซียส นานประมาณ 13
ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็น
เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท
|
|
มะเกี๋ยงหยี
การทำมะเกี๋ยงหยี
ทำโดยใช้เนื้อมะเกี๋ยงบดหยาบในอัตราส่วนของเนื้อมะเกี๋ยงต่อน้ำเท่ากับ
1 ต่อ 1 เติมกรดซิตริก ร้อยละ 1
แบะแซร้อยละ 25
น้ำตาลร้อยละ 40 พริกป่น
และเกลือ ร้อยละ 3
ได้ผลิตภัณฑ์มะเกี๋ยงหยีที่มีปริมาณความชื้นร้อยละ
24.55 ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์
22.40 ปริมาณกรดร้อยละ 0.95
ปริมาณไขมันร้อยละ 1.36
ปริมาณเยื่อใยร้อยละ 6.44
และปริมาณเถ้าร้อยละ 2.46
|
|
ชามะเกี๋ยง
ชามะเกี๋ยง
จัดเป็นเครื่องดื่มประเภทชาสมุนไพร
(herbal tea)
ที่ทำจากเนื้อมะเกี๋ยงบดแห้งซึ่งมีข้อดี
คือ
ชาประเภทนี้ไม่มีสารคาเฟอีน
( caffeine) อยู่
การทำชามะเกี๋ยงทำโดยการใช้เนื้อมะเกี๋ยงที่แกะออกจากเมล็ดแล้ว
เข้าเครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง
1 รอบ
ที่ระยะห่างของลูกกลิ้ง
0.1 มิลลิเมตร
ได้ชามะเกี๋ยงที่มีปริมาณผลผลิตร้อยละ
6.2 ปริมาณความชื้นร้อยละ 7.22
การชงชามะเกี๋ยงในอัตราส่วนชามะเกี๋ยงต่อน้ำร้อน
1 ต่อ 5
ได้น้ำมะเกี๋ยงที่มีปริมาณกรดทั้งหมด
ร้อยละ 0.7
เมื่อเติมเกลือร้อยละ 0.25
และปรับให้มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด
16.22 องศาบริกซ์
|


|
โยเกิร์ตมะเกี๋ยง
การใช้ประโยชน์จากผลมะเกี๋ยงในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต
สามารถนำมาใช้ทั้งในรูปของน้ำมะเกี๋ยงผสมในโยเกิร์ตพร้อมดื่มและเนื้อมะเกี๋ยงกวน
ในรูปแบบของโยเกิร์ดคงรูปทำโดยใช้มะเกี๋ยงกวนในอัตราส่วนของเนื้อมะเกี๋ยง
ต่อ น้ำตาลทราย ต่อน้ำ
เท่ากับ 1 ต่อ 2 ต่อ 2
กวนที่อุณหภูมิ 90
องศาเซลเซียส นาน 20 นาที
ได้มะเกี๋ยงกวนที่มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด
71 องศาบริกซ์
ปริมาณกรดทั้งหมดในรูปกรดซิตริก
ร้อยละ 0.54 ค่าความเป็นกรด-ด่าง
เท่ากับ 1.5 นำมาผสมในโยเกิร์ตที่ปริมาณร้อยละ
20 ของเนื้อโยเกิร์ต
ที่ประกอบด้วย
นมสดที่ผ่านการโอโมจิไนซ์ 100
ส่วน น้ำตาลทราย 7 ส่วน
หางนมผง 3 ส่วน แคลเซียมคลอไรด์
0.02 ส่วน และหัวเชื้อโยเกิร์ต
3 ส่วน
การเตรียมหัวเชื้อโยเกิร์ต
ใช้น้ำนมสดที่ผ่านการโฮโมจิไนซ์
ที่มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด
10 องศาบริกซ์ ค่าความเป็นกรด-ด่าง
6.6 ปริมาณกรดทั้งหมดร้อยละ 0.19
จำนวน 100 ส่วน
น้ำตาลทรายร้อยละ 7
หางนมผงร้อยละ1.5 แคลเซียมคลอไรด์
ร้อยละ 0.02
แล้วให้ความร้อนที่อุณหภูมิ
90 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที
ทำให้เย็นที่อุณหภูมิ 45
องศาเซลเซียส
เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์แลคติคแอสิดแบคทีเรียในกลุ่มของ
Thermophilic Lactic Culture ชนิดผง YC-380 ของ Hansen
แล้วบ่มที่อุณหภูมิ 45
องศาเซลเซียส นาน 4 ชั่วโมง
จะได้ลักษณะเป็นเคิร์ด (curd)และมีเจลที่เรียบ
โดยโยเกิร์ตต้องมีปริมาณกรดแลคติกร้อยละ
0.80 -0.90 และค่าความเป็นกรด-ด่าง
4.4 - 4.6
จากนั้นนำออกจากตู้บ่มและทำให้เย็นอย่างช้าๆที่อุณหภูมิห้องเพื่อป้องกันการหดตัวของเคิร์ด
แล้วจึงเก็บโยเกิร์ตไว้ในตู้เย็ที่อุณหภูมิ
5-10 องศาเซลเซียส เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อโยเกิร์ต
|
|
สีผสมอาหารแอนโธซัยยานินส์
นอกจากการใช้ประโยชน์ในลักษณะของผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว
จากคุณสมบัติ
และลักษณะเด่นของผลมะกี๋ยงด้านสีการสกัดสีจากผลมะเกี๋ยงมาใช้ในอาหารนั้นสามารถสกัดได้โดยการต้มในน้ำเดือด
สารละลายที่ได้มีสีแดงสด
ซึ่งเป็นรงควัตถุแอนโธซัยยานินส์
เหมาะสำหรับนำไปใช้กับอาหารที่สภาพเป็นกรดสูง
เช่น น้ำผลไม้
แยมผลไม้แต่ไม่เหมาะกับอาหารที่เป็นกลางหรือด่าง
เพราะแอนโธซัยยานินส์เมื่ออยู่ในสภาพเป็นกลางและด่างจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินคล้ำไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
ในเชิงอุตสาหกรรม การสกัดแอนโธซัยยานินส์จากผลมะเกี๋ยง
ทำโดยใช้กรดไฮโดรคลอริก
0.4% w/v ผสมในตัวทำลายเอทานอล
95 %
สารละลายที่สกัดได้มีปริมาณแอนโธซัยยานินส์
29.3 มิลลิกรัม
ต่อเนื้อมะเกี๋ยง 100 กรัม
มีสีแดงที่ค่า Hue 1.25 R ปริมาณเด๊กซ์โตรสที่เหมาะสมในการทำแอนโธซัยยานินส์ผงโดยใช้เครื่องทำแห้งแบบระเหิด
คือ
มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด
ตั้งแต่ 25 ถึง 45 องศาบริกซ์
|