สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
             Klong Phai Botanical Garden   
 

FLACOURTIACEAE





ตะขบป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Flacourtia indica  (Burm.f) Merr.
วงศ์ :   FLACOURTIACEAE
ชื่อสามัญ :  Flambuoyant tree, Flame of the forest, Peacock flower

ชื่ออื่น :  นกยูงฝรั่ง อินทรี (ภาคกลาง) ส้มพอหลวง (ภาคเหนือ) หงอนยูง (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง ๒-๑๕ ม. เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ดบาง ๆ ตามลำต้น มีหนามยาวตามลำต้นและกิ่งซึ่งหนามเหล่านี้จะร่วงไปเมื่อต้นโตเต็มที่ (เมื่อหมดอายุ) หนามยาว ๑๐-๒๐ ซม. แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก ใบมีรูปร่างหลายแบบ รูปไข่ถึงรูปหอก ขนาด ๑.๔ X ๒-๖ ซม. ขอบใบหยักเหมือนฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบหรือมีขนนุ่มสั้น ปกคลุมบนผิวทั้งสองด้าน ก้านใบสีแดงยาวเรียว มีขนนุ่ม ๆ สั้นปกคลุม ยาว ๓-๑๐ มม. ดอก ออกเป็นช่อสั้น ๆ มีดอกย่อย ๔-๖ ดอก มีกลุ่มขนนุ่มสั้น ๆ ปกคลุม ออกดอกบริเวณง่ามใบและบริเวณปลายกิ่ง ยาว ๓-๑๐ ซม. ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น ดอกมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้มีก้านดอกยาว ๔-๗ มม. กลีบเลี้ยงมี ๔-๖ กลีบ โคนติดกัน ปลายแยก ขนาด ๑-๑.๕ มม. ผล เป็นผลที่อ่อนนุ่ม ผลสุกมีสีดำ – แดง ลักษณะกลมหรือรูปไข่ ขนาด ๑-๑.๕ ซม. มี ๒ เมล็ดรูปรี ขนาด ๓-๔ ซม.
         ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ออกดอก ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ผลแก่ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน
ประโยชน์ :  ผลใช้รับประทาน และนำมาใช้เป็นยาฝาดสมานได้