สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
             Klong Phai Botanical Garden   
 

Sapotaceae








พิกุล

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mimusops elengi L.
วงศ์ :  Sapotaceae
ชื่อสามัญ

ชื่ออื่น :  กุน (ภาคใต้); แก้ว (ภาคเหนือ); ซางดง (ลำปาง); พิกุล (ภาคกลาง); พิกุลเขา, พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช); พิกุลป่า (สตูล)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว
          มีถิ่นกำเนิดจากอินเดีย ศรีลังกา พม่า  ในประเทศไทยพบได้ทางภาคใต้ ภาคกลางและภาคตะวันออก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์
: ไม้ใช้ทำเสา ทำโครงเรือ ทำไม้นวดข้าว กระเดื่อง ครก สาก ทำคันไถ คันธนู ด้ามหอกหรือหน้าไม้ ส่วนเปลือกต้มน้ำรักษาเหงือกและฟัน ดอกแห้งรักษาอาการปวดหัว เจ็บคอและป่นทำยานัตถุ์ เมล็ดบดเป็นผง สวนแก้ท้องผูก เนื้อผลสุกรับประทานได้ มีรสหวาน