|
ยอป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Morinda
tomentosa Heyne ex
Roth
วงศ์ :
Rubiaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
คูยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน, ส่วย); เควาะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี);
เคาะขมิ้น, ยอป่า, สะกึย, สะเกย, หัสเกย (ภาคเหนือ);
ตะลุมพุก (ขอนแก่น); ตะเกรย (ราชบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น ไม้ยืนต้นสูง 10 - 15 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ ใบ
ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปปลายใบแหลม โคนสอบแคบ กว้าง 5
- 10 เซนติเมตร ยาว 10 - 20 เซนติเมตร ขอบใบมักม้วนงอ
ดอก ดอกช่อ เป็นก้อนกระจุกทรงกลมออกที่ซอกใบ อาจจะมี 1
- 3 ช่อ มีกลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด
ปลายแยกออกเป็นกลีบ มี 5 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกราว
มีนาคม - เมษายน ผล
เป็นผลรวม รูปทรงค่อนข้างกลม ผิวเป็นตุ่ม ๆ
สีเขียวเข้ม
ประโยชน์ :
ราก แก้เบาหวาน แก่น ต้มน้ำดื่มบำรุงเลือด ใบ
ใช้อังไฟปิดหน้าอก แก้ไอจุกเสียด หรือตำพอกหัวฆ่าเหา
ผล แแก้อาเจียน ผลสุก ขับลม, ขับประดู ใช้รากย้อมผ้า
ให้สีแดง
|
|