คำมอกหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Gardenia
sootepensis Hutch.
วงศ์ :
Rubiaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
ไข่เน่า (นครพนม); คำมอกช้าง, คำมอกหลวง (ภาคเหนือ);
ผ่าด้าม, ยางมอกใหญ่ (นครราชสีมา); แสลงหอมไก๋, หอมไก๋
(ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-8 เมตร
มีขนนุ่มที่กิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม กว้าง 4-13
ซม. ยาว 8-25 ซม. ก้านใบยาว 0.4-1.5 ซม.
หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ร่วงง่าย แผ่นใบค่อนข้างหนา
รูปไข่แกมกลับแกมรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายแหลม ขอบเรียบ
ผิวใบด้านล่างปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มหนาแน่นกว่าที่ด้านบน
ดอกเดี่ยว มีจำนวนหลายดอกเกิดที่ซอกใบ
ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่ม ยกเว้นกลีบดอกด้านใน กว้าง
6-11 ซม. ยาว 4-9 ซม. ก้านดอกยาว 0.2-0.7 ซม.
หรือไม่มีก้าน ประกอบด้วยวงกลีบเลี้ยง ปลายแยก 5 แฉก
แต่ละแฉกปลายแหลม วงกลีบดอกปลายแยก 5 แฉก
สีเหลืองรูปไข่หรือรูปขอบขนาน เกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน
โผล่เกือบพ้นหลอดวงกลีบดอก เกสรเพศเมีย จำนวน 1 อัน
อยู่ใต้วงกลีบ ผลแห้ง เมื่อเจริญเต็มที่ผลไม่แตก กว้าง
2-3 ซม. ยาว 3.2-4.5 ซม. รูปรี ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่ม
มียอดเกสรเพศเมียติดที่ปลายผล
คำมอกหลวง มีการะจายพันธุ์ที่ประเทศไทย
ลาว ออกดอกประมาณเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน
ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ชำกิ่ง และเพาะเมล็ด
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ประดับ
|