หัวร้อยรู
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Hydnophytum
formicarum Jack
วงศ์ :
Rubiaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
กระเช้าผีมด (สุราษฎร์ธานี); ดาลูปูตาลิมา (มลายู-ภาคใต้);
ปุมเป้า (ตราด); ร้อยรู (ปัตตานี); หัวร้อยรู (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้กาฝากเกาะอาศัยไม้อื่น สูง 25-60
ซม. โคนต้นโป่งพองคล้ายหัว ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม
รูปวงรีหรือรูปใบหอกกว้าง กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-15 ซม.
หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกที่กิ่ง กลีบดอกสีขาว
ผลสด รูปไข่กลับ เมื่อสุกสีส้ม
ประโยชน์ :
ตำรายาไทยใช้ ต้น ตำกินถ่ายพยาธิ
บำรุงหัวใจ แก้พิษในกระดูก (โรคกระดูก มีอาการเจ็บปวด
กระดูกเปราะ ผิวหนังเป็นจ้ำ ผื่น
อาจเป็นแผลกินลึกถึงกระดูกได้) แก้พิษประดง
(อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก
มักมีไข้ร่วมด้วย) ยาพื้นบ้านใช้ ต้น แก้ปวดเข่า
ข้อเท้าปวดบวม ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม
รักษาโรคปอด ผสมกับรากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ
ข้าวเย็นใต้ ต้นกำแพงเจ็ดชั้น แก่นสัก
และหญ้าชันกาดทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม รักษาเบาหวาน
ที่มาของข้อมูล : สยามไภษัชยพฤกษ์
, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล , พ.ศ.2538
|